ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 593อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สมาธิสังยุต
๑๐. สัปปายการีสูตร

               อรรถกถาฐิติสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า น สมาธิสฺมึ ฐิติกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดที่จะหยุดฌานไว้ได้ คือไม่สามารถจะหยุดฌานไว้ได้ชั่ว ๗-๘ ลัดนิ้วมือ.
               จบอรรถกถาฐิติสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาวุฏฐานสูตรที่ ๓               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ วุฏฺฐานกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดจะออกจากฌาน คือไม่สามารถจะออกได้ตามเวลาที่กำหนดไว้.
               จบอรรถกถาวุฏฐานสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถากัลลิตสูตรที่ ๔               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ กลฺลิตกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดที่จะยังจิตให้ร่าเริงแล้วทำให้สามารถ.
               จบอรรถกถากัลลิตสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาอารัมมณสูตรที่ ๕               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ อารมฺมณกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดในอารมณ์คือกสิณ.
               จบอรรถกถาอารัมมณสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ โคจรกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดในอารมณ์ของกรรมฐาน และในที่ไม่โคจรเพื่อภิกษาจาร.
               จบอรรถกถาโคจรสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาอภินีหารสูตรที่ ๗               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ อภินีหารกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดที่จะนำกรรมฐานให้สูงขึ้นไป.
               จบอรรถกถาอภินีหารสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาสักกัจจการีสูตรที่ ๘               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ สกฺกจฺจการี ความว่า ไม่ใช่ผู้มีปกติทำโดยเคารพเพื่อทำฌานให้บรรลุอัปปนา.
               จบอรรถกถาสักกัจจการีสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาสาตัจจการีสูตรที่ ๙               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ สาตจฺจการี ความว่า ไม่ใช่ผู้มีปกติทำอย่างติดต่อเพื่อออกจากฌาน คือทำเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น.
               จบอรรถกถาสาตัจจการีสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

               อรรถกถาสัปปายการีสูตรที่ ๑๐               
               บทว่า น สมาธิสฺมึ สปฺปายการี ความว่า ไม่สามารถจะทำธรรมที่เป็นสัปปายะ คือเป็นอุปการะแก่สมาธิให้บริบูรณ์ได้.
               จบอรรถกถาสัปปายการีสูตรที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               ต่อจากนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจตุกกะไว้ (โดย) ประกอบเข้ากับบททั้งหลายมีสมาบัติเป็นต้น.
               เนื้อความของจตุกกะเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               ส่วนสมาธิสังยุตในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็นโลกิยฌานเท่านั้นแล.

               จบอรรถกถาสมาธิสังยุตที่ ๑๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
                         ๑. สมาธิสมาปัตติสูตร
                         ๒. ฐิติสูตร
                         ๓. วุฏฐานสูตร
                         ๔. กัลลิตสูตร
                         ๕. อารัมมณสูตร
                         ๖. โคจรสูตร
                         ๗. อภินีหารสูตร
                         ๘. สักกัจจการีสูตร
                         ๙. สาตัจจการีสูตร
                         ๑๐. สัปปายการีสูตร.

               จบขันธวารวรรคสังยุต.               
               -----------------------------------------------------               

               รวมวรรคที่มีในขันธวารวัคคสังยุตนี้ คือ
                         ๑. นกุลปิตวรรค
                         ๒. อนิจจวรรค
                         ๓. ภารวรรค
                         ๔. นตุมหากวรรค
                         ๕. อัตตทีปวรรค
               รวม ๕ วรรคนี้ ท่านเรียกว่า ปฐมปัณณาสก์.

                         ๖. อุปายวรรค
                         ๗. อรหันตวรรค
                         ๘. ขัชชนียวรรค
                         ๙. เถรวรรค
                         ๑๐. ปุปผวรรค
               รวม ๕ วรรคนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ฉลาดทรงประกาศว่า เป็นมัชฌิมปัณณาสก์.

                         ๑๑. อันตวรรค
                         ๑๒. ธัมมกถิกวรรค
                         ๑๓. อวิชชาวรรค
                         ๑๔. กุกกุฬวรรค
                         ๑๕. ทิฏฐิวรรค
               รวม ๕ วรรคนี้ ท่านเรียกว่า ปัจฉิมปัณณาสก์ และเรียกว่าเป็นนิบาต.

               ในขันธวารวรรคมี ๑๓ สังยุต คือ
                         ๑. ขันธสังยุต
                         ๒. ราธสังยุต
                         ๓. ทิฏฐิสังยุต
                         ๔. โอกกันตสังยุต
                         ๕. อุปปาทสังยุต
                         ๖. กิเลสสังยุต
                         ๗. สาริปุตตสังยุต
                         ๘. นาคสังยุต
                         ๙. สุปัณณสังยุต
                         ๑๐. คันธัพพกายสังยุต
                         ๑๑. วลาหกสังยุต
                         ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
                         ๑๓. สมาธิสังยุต ฉะนี้แล ฯลฯ
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สมาธิสังยุต ๑๐. สัปปายการีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 593อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=6832&Z=7008
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :