ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 260อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 263อ่านอรรถกถา 17 / 274อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ ปุปผวรรคที่ ๕
สัญญาสูตร ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา

               อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อนิจฺจสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ภาวนาอยู่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง.
               บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ จักทำให้ (กามราคะ) ทั้งหมดสิ้นไป.
               บทว่า สพฺพํ อสฺมิมานํ ได้แก่ อัสมิมานะทั้ง ๙ อย่าง.
               บทว่า มูลสนฺตานกานิ ได้แก่ รากไม้ที่แตกยื่นออกไป.
               ก็ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
               อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนไถใหญ่.
               กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนรากไม้ที่แตกออกไปทั้งเล็กทั้งใหญ่
               พระโยคีผู้เจริญอนิจจสัญญาทำลายกิเลสได้ด้วยญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา เปรียบเหมือนชาวนาไถนาทำลายรากไม้เหล่านั้นได้ด้วยไถ.
               บทว่า โอธุนาติ แปลว่า ดาย (กำจัดข้างล่าง).
               บทว่า นิธุนาติ แปลว่า ฟาด.
               บทว่า นิปฺโผเฏติ แปลว่า สลัดทิ้ง.
               แม้ในที่นี้ พึงอุปมาเปรียบเทียบด้วยอรรถนี้ว่า อาลัยคือกิเลสเปรียบเหมือนหญ้าปล้อง ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญาเปรียบเหมือนการสลัดทิ้ง.
               บทว่า วณฺฑจฺฉินฺนาย ความว่า (พวงมะม่วง) ขั้วขาดเพราะลูกธนูอันคม.
               บทว่า ตนฺวยานิ ภวนฺติ ความว่า (มะม่วงลูกอื่นๆ) ย่อมตกตามพวงมะม่วงพวงนั้น. เมื่อมะม่วงพวงนั้นตก มะม่วง (ลูกอื่น) ก็พลอยตกลงพื้นดินด้วย.
               แม้ในที่นี้ มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-
               กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวงมะม่วง
               อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนลูกธนูอันคม
               เมื่ออวิชชาที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วยญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา กิเลสทั้งหมดก็พลอยถูกถอน (ถูกตัด) ไปด้วย เปรียบเหมือนเมื่อพวงมะม่วงถูกตัดไปด้วยคมธนู มะม่วงทั้งหมด (ในก้านเดียวกัน) ก็พลอยหล่นลงพื้นไปด้วย.
               บทว่า กูฏงฺคมา แปลว่า (กลอนทั้งหลาย) ไปถึงยอดเรือน.
               บทว่า กูฏนินฺนา แปลว่า ชอนเข้าไปในยอดเรือน โดยสอดเข้าไปสู่ยอดเรือน.
               บทว่า กูฏสโมสรณา แปลว่า รวมลงอยู่ที่ยอดเรือน.
               ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-
               อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนยอดเรือน.
               กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เปรียบเหมือนกลอนเรือน.
               อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดแห่งกลอนทั้งหมด เป็นยอดของกูฏาคาร.
               ถามว่า ก็อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ (เท่านั้น) มิใช่หรือ? (แล้ว) กลับมาเป็นยอดของโลกุตตรธรรมได้อย่างไร?
               ตอบว่า อนิจจสัญญาพึงทราบว่าเป็นยอด (ของโลกุตตรธรรมทั้งหลาย) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ได้โลกุตตรธรรมแม้เหล่านั้น.
               พึงทราบข้ออุปมาเปรียบเทียบในอุปมาทั้งหมดโดยอุบายนี้ ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา ๓ ข้อแรก ตรัสพลังของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา ๓ ข้อหลังแล.

               จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐               
               จบอรรถกถาปุปผวรรคที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. นทีสูตร
                         ๒. ปุปผสูตร
                         ๓. เผณปิณฑสูตร
                         ๔. โคมยสูตร
                         ๕. นขสิขสูตร
                         ๖. สามุททกสูตร
                         ๗. คัททูลสูตรที่ ๑
                         ๘. คัททูลสูตรที่ ๒
                         ๙. นาวาสูตร
                         ๑๐. สัญญาสูตร.
               จบมัชฌิมปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ
                         ๑. อุปายวรรค
                         ๒. อรหันตวรรค
                         ๓. ขัชชนิยวรรค
                         ๔. เถรวรรค
                         ๕. ปุปผวรรค
               รวม ๕ วรรค ทุติยปัณณาสก์ก็เรียกในขันธสังยุตนั้น.
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ ปุปผวรรคที่ ๕ สัญญาสูตร ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 260อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 263อ่านอรรถกถา 17 / 274อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=3407&Z=3466
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7971
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7971
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :