ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าณ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ
       ทุกข์ ควรกำหนดรู้ได้ รู้แล้ว
       สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว
       นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว
       มรรค ควรเจริญ ได้เจริญ คือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม แม้จะมีกรรมต่างๆ ให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะ ล่วงรู้ได้ว่าอันใดเป็นผลของกรรมใด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กัปปมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กัลยาณคุณ คุณอันบัณฑิตพึงนับ, คุณธรรมที่ดีงาม, คุณงามความดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กัลยาณชน คนประพฤติดีงาม, คนดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กัลยาณธรรม ธรรมอันดี, ธรรมดีงาม, ธรรมของกัลยาณชน;
       ดู เบญจธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กัลยาณปุถุชน คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี, ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กัลยาณมิตร เพื่อนที่ดี, มิตรผู้มีคุณอันพึงนับ
       (คุณสมบัติ ดู เพื่อน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
       (ข้อ ๓ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิธรรม ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กัลยาณี นางงาม, หญิงงาม, หญิงที่มีคุณธรรมน่านับถือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น
       (ข้อ ๕ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
       คือรู้ว่า
           ทุกข์ ควรกำหนดรู้
           สมุทัย ควรละ
           นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
           มรรค ควรทำให้เจริญ คือควรปฏิบัติ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร
       คือ ปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรค หรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้นสู่ภาวะเป็นอริยะ
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
       (ข้อ ๓ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
โฆสัปปมาณิกา คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น;
       อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น
       (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้, รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้
       เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในวิชชา ๘, ข้อ ๓ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ชตุกัณณีมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ชิวหาวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส
       (ข้อ ๔ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้;
       ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
           ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
           ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
           ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ
           ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป
       ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป
       ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
       ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)
       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
       ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค
       ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล
       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;
       ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;
       ดู วิปัสสนาญาณ ๙

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ
       (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ
       นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔;
       ดู วิสุทธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
       (ข้อ ๓ ในสังวร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ติสสเมตเตยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
โตเทยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ทศพลญาณ ดู ทสพลญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ
       ๑. ฐานาฐานญาณ
       ๒. กรรมวิปากญาณ
       ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
       ๔. นานาธาตุญาณ
       ๕. นานาธิมุตติกญาณ
       ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ
       ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
       ๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
       ๙. จุตูปปาตญาณ
       ๑๐. อาสวักขยญาณ;
           นิยมเขียน ทศพลญาณ;
           ดู ญาณ ชื่อนั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ทัณฑปาณิ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระเชฏฐาของพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ทิพพจักขุญาณ ญาณ คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงอาทิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ธัมมัปปมาณิกา ถือธรรมเป็นประมาณ, ผู้เลื่อมใสเพราะพอใจในเนื้อหาธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น ชอบฟังธรรม ชอบเห็นภิกษุรักษามารยาทเรียบร้อยสำรวมอินทรีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
โธตกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
นันทมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ
       (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน
       (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖)
       เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร
       เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต
       เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง
       ปัจจุบันนิยมใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดู ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
เบญจกัลยาณี หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ
       ผมงาม
       เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม)
       ฟันงาม
       ผิวงาม
       วัยงาม (คือดูงามทุกวัย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
เบญจธรรม ธรรม ๕ ประการ,
       ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้
           ๑. เมตตากรุณา
           ๒. สัมมาอาชีวะ
           ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม)
           ๔. สัจจะ
           ๕. สติสัมปชัญญะ ;
       บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ
           ๒. ทาน
           ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน
           ๕. อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ;
       เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
โบราณ มีในกาลก่อน, เป็นของเก่าแก่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
       ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
       (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ปฏิภาณ โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ
       โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ
       แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
       (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป
       หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นทายก อุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย;
       ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ปมาณิกา ดู ประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์;
       บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณ คือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือ หรือความนิยมเลื่อมใส
       ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ
           ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ
           ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียง เป็นประมาณ
           ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ
           ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรม คือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้อง เป็นประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด;
       ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน,
       ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);
       ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ปัจจัยปริคคหญาณ ดู นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน,
       ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์
       (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ปาสาณเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ปิงคิยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ ชื่อของพระมหากัสสปเถระ เมื่อก่อนออกบวช;
       ส่วนกัสสปะ เป็นชื่อที่เรียกตามโคตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ปุณณกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
ปุณณมาณพ คือพระปุณณมันตานีบุตรเมื่อก่อนบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
ปุราณจีวร จีวรเก่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ปุราณชฎิล พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฎิลมาก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
โปสาลมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
ผลญาณ ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณ และเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
ผาณิต รสหวานเกิดแต่น้ำอ้อย, น้ำอ้อย (ข้อ ๕ ในเภสัช ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
พาณิช พ่อค้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
พาณิชย์ การค้าขาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
พาราณสี ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสี อยู่ริมแม่น้ำคงคา
       ปัจจุบันเรียก Banaras หรือ Benares
       ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
พุทธอาณา อำนาจปกครองของพระพุทธเจ้า, อำนาจปกครองฝ่ายพุทธจักร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
พุทธาณัติ คำสั่งของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
พุทธาณัติพจน์ พระดำรัสสั่งของพระพุทธเจ้า, คำสั่งของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสตาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]