ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ศน ”             ผลการค้นหาพบ  14  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 14
กระแสเทศนา แนวเทศนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 14
กัณฑ์เทศน์ ดู เครื่องกัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 14
เครื่องกัณฑ์ สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์;
       กัณฑ์เทศน์ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 14
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ
       นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 14
ทัศนีย์ งาม, น่าดู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 14
เทศนา การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา, การชี้แจงให้รู้จักดีรู้จักชั่ว, คำสอน;
       มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง
           ๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 14
ธรรมเทศนา การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 14
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 14
ธรรมเทศนาสิกขาบท สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคาม เกินกว่า ๕-๖ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย
       (สิกขาบทที่ ๗ ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 14
นิทัศนะ, นิทัสน์ ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์
       (พจนานุกรมเขียน นิทัศน์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 14
นิเวศน์ ที่อยู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 14
ปฐมเทศนา เทศนาครั้งแรก
       หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้ ๒ เดือน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 14
มหาสุทัศน์ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองราชสมบัติอยู่ที่กุสาวดีราชธานีในอดีตกาล ก่อนพุทธกาลช้านาน
       เมืองกุสาวดีนี้ ในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่า เมืองกุสินารา,
       เรื่องมาในมหาสุทัสสนสูตร แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 14
ราชนิเวศน์ ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน, พระราชวัง


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ศน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C8%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]