ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อน ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
ขอนิสัย ดู นิสัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
เดือน ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ);
       การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม
       ดูชื่อเดือนที่ มาตรา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
ถอน (ในคำว่า “รู้จักถอนไตรจีวร”) ยกเลิกของเดิม ออกมาจากศัพท์ ปัจจุทธรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
นอนร่วม นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกัน แลเห็นกันได้ในเวลานอน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
ประทมอนุฏฐานไสยา นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน,
       ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร
       การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้
           ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้
        บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดีงาม
       กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ
       ๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา
       ๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่น เป็นที่พึงอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
       ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
       ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
       ๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากย์วิจารณ์
       ๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
       ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ลักซ่อน เห็นของเขาทำตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย หรือเอาของมีใบไม้เป็นต้น ปิดเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
สัตตุผง สัตตุก้อน ข้าวตู เสบียงเดินทางที่ ๒ พ่อค้า คือ ตปุสสะกับภัลลิกะถวายแด่พระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
       (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง
       (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
อนติริตตะ (อาหาร) ซึ่งไม่เป็นเดน
       (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือเป็นเดนภิกษุใช้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
อนธการ ความมืด, ความโง่เขลา;
       เวลาค่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา, ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา
       (ข้อ ๘ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
อนริยปริเยสนา การแสวงหาที่ไม่เป็นอริยะ
       คือ แสวงหาสิ่งที่ยังตกอยู่ในชาติ ชรามรณะ หรือสิ่งที่ระคนอยู่ด้วยทุกข์
       กล่าวคือ แสวงหาสิ่งอันทำให้ติดอยู่ในโลก,
       สำหรับชาวบ้าน ท่านว่า หมายถึง การแสวงหาในทางมิจฉาชีพ
       (ข้อ ๑ ในปริเยสนา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
อนวิเสส หาส่วนเหลือมิได้, ไม่เหลือเลย, สิ้นเชิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
อนังคณสูตร ชื่อสูตรที่ ๕ แห่งมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก
       เป็นคำสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ว่าด้วยกิเลสอันยวนใจ และความต่างแห่งผู้มีกิเลสยวนใจกับผู้ไม่มีกิเลสยวนใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์);
       ดู อนัตตลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
อนัตตลักขณสูตร ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนัตตา
       พระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้
       (มาในมหาวรรค พระวินัยปิฎก และในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
       ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
           ๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
           ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
           ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
           ๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
           ๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
       ดู ทุกขลักษณะ, อนิจจลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
อนัตตสัญญา กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน;
       ดู อนัตตลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นในสภาพที่เป็นอนัตตา คือหาตัวตนเป็นแก่นสารมิได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
อนันต์ ไม่มีที่สิ้นสุด, มากเหลือเกิน, มากจนนับไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน,
       กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
           ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
           ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
           ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
           ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
อนาคต ยังไม่มาถึง, เรื่องที่ยังไม่มาถึง, เวลาที่ยังไม่มาถึง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
อนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้า อันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ คือ กามราคะ และปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรค อันทำให้เป็นพระอนาคามี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอนาคามี,
       ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕
       (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
อนาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ
       ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน)
       ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ
       ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
       ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก
       ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
อนาคาริยวินัย วินัยของอนาคาริก; ดู วินัย ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
อนาจาร ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ
       ๑. การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก
       ๒. การร้อยดอกไม้
       ๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
อนาณัตติกะ อาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง ไม่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ
       เช่น สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ (แต่สั่งให้ทำแก่ตน ไม่พ้นอาบัติ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
อนาถบิณฑิก อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี
       ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา
       ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา”
       ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
อนาถา ไม่มีที่พึ่ง, ยากจน, เข็ญใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
อนาบัติ ไม่เป็นอาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
อนาปัตติวาร ตอนว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปรับอาบัตินั้นๆ
       ตามปกติอยู่ท้ายคำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อ ในคัมภีร์วิภังค์ พระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
อนามัฏฐบิณฑบาต อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้ นอกจากมารดาบิดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
อนามาส วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
อนาโรจนา “การไม่บอก” คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์;
       เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส
       ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้น แต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก;
       ดู รัตติเฉท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
อนาวรณญาณ ปรีชาหยั่งรู้ที่ไม่มีอะไรๆ มากั้นได้
       หมายความว่า รู้ตลอด, รู้ทะลุปรุโปร่ง เป็นพระปรีชาญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
อนาวาส ถิ่นที่มิใช่อาวาส คือ ไม่เป็นวัด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
อนาสวะ ไม่มีอาสวะ, อันหาอาสวะมิได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่
       (ข้อ ๑ ในไตรลักษณ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ,
       ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
           ๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี
           ๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ
           ๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ
           ๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว;
       ดู ทุกขลักษณะ, อนัตตลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
อนิจจสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
       (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
อนิจจัง ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป;
       ดู อนิจจลักษณะ, ไตรลักษณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ
       แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ
       แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์;
       เทียบ อิฏฐารมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
       คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
       (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
       คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
อนิมิสเจดีย์ สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์;
       ดู วิมุตติสุข

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
อนิยต ไม่แน่, ไม่แน่นอน เป็นชื่ออาบัติที่ยังไม่แน่ ระหว่างปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
อนิยตสิกขาบท สิกขาบทที่วางอาบัติไว้ไม่แน่ คือ ยังไม่ระบุชัดลงไปว่าเป็นปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์,
       มี ๒ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
อนึก กองทัพ คือ ช้าง ม้า รถ พลเดิน ที่จัดเป็นกองๆ แล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ; ความเอื้อเฟื้อ, การช่วยเหลือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
อนุชน คนที่เกิดตามมา, คนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อๆ ไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
อนุชา ผู้เกิดทีหลัง, น้อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
อนุญาต ยินยอม, ยอมให้, ตกลง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
อนุฎีกา ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเดิมฎีกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
อนุฏฐานไสยา “การนอนที่ไม่มีการลุกขึ้น”, การนอนครั้งสุดท้าย
       โดยทั่วไปหมายถึง การบรรทมครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ในคราวเสด็จดับขันธปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก
       เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีอย่างสูงสุด
       เพราะพระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ฝึกฝนอบรมตน และเป็นผู้เผยแพร่ธรรม
       ไทยธรรมที่ถวายแก่ท่าน ย่อมมีผลอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางและตลอดกาลยาวนาน
       เหมือนนามีพื้นดินอันดี พืชที่หว่านไปย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
       (ข้อ ๙ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
อนุตตริยะ ภาวะที่ยอดเยี่ยม,
       สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ คือ
           ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ เห็นธรรม
           ๒. ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘
           ๓. วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์;
       อนุตตริยะ อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ
           ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม
           ๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันเยี่ยม
           ๓. ลาภานุตตริยะ ลาภหรือการได้อันเยี่ยม
           ๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม
           ๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม
           ๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม
       ดู คำอธิบายที่คำนั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ทรงเป็นสารถี ฝึกคนที่ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคล สอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา และทำให้เขาบรรลุผลที่พึงได้ เต็มตามกำลังความสามารถของเขา
       (ข้อ ๖ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
อนุทูต ทูตติดตาม,
       ในพระวินัย หมายถึง ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นตัวแทนของสงฆ์ เดินทางร่วมไปกับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษด้วย ปฏิสารณียกรรม ให้ไปขอขมาคฤหัสถ์ ในกรณีที่เธอไม่อาจไปตามลำพัง
       อนุทูตทำหน้าที่ช่วยพูดกับคฤหัสถ์นั้นเป็นส่วนตนหรือในนามของสงฆ์ เพื่อให้ตกลงรับขมา เมื่อตกลงกันแล้ว รับอาบัติที่ภิกษุนั้นแสดงต่อหน้าเขาแล้วจึงให้ขมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
อนุบัญญัติ บัญญัติเพิ่มเติม, บทแก้ไขเพิ่มเติมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเสริม หรือผ่อนพระบัญญัติที่วางไว้เดิม;
       คู่กับ บัญญัติ หรือ มูลบัญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
อนุบุพพิกถา ดู อนุปุพพิกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
อนุบุรุษ คนรุ่นหลัง, คนที่เกิดทีหลัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
อนุปสัมบัน ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี),
       ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี;
       เทียบ อุปสัมบัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
       เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
       ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์;
       เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
อนุปิยนิคม นิคมแห่งหนึ่งของมัลลกษัตริย์ ในแขวงมัลลชนบท อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกบิลพัสดุ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
อนุปิยอัมพวัน ชื่อสวน อยู่ในเขตอนุปิยนิคม แขวงมัลลชนบท เป็นที่พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ๗ วัน หลังจากเสด็จออกบรรพชาใหม่ๆ ก่อนเสด็จต่อไปสู่เมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ
       และต่อมาเป็นที่เจ้าศากยะ มี อนุรุทธ และอานนท์ เป็นต้น พร้อมด้วยอุบาลี ออกบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ,
       ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ
           รูปฌาน ๔
           อรูปฌาน ๔ และ
           สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ
       เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก
       เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจจ์
       มี ๕ คือ
           ๑. ทานกถา พรรณนาทาน
           ๒. สีลกถา พรรณนาศีล
           ๓. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม
           ๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม
           ๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
       อนุปุพพีกถา ก็มีใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อนุพยัญชนะ ลักษณะน้อยๆ,
       พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒)
       อีก ๘๐ ประการ คือ
           ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
           ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย
           ๓. นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
           ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง
           ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้นงอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
           ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
           ๘. พระบาททั้งสองเสมอกัน มิได้ย่อมใหญ่กว่ากัน มาตรว่าเท่าเมล็ดงา
           ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ
           ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
           ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
           ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน
           ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
           ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
           ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี
           ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง
           ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก
           ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ
           ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี
           ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี
           ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้
           ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย
           ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
           ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
           ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
           ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ
           ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง
           ๒๙. สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม
           ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก
           ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
           ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
           ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
           ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์
           ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย
           ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน
           ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก
           ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว
           ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
           ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
           ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
           ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
           ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
           ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
           ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด
           ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
           ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม
           ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ
           ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
           ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
           ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
           ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว
           ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
           ๕๕. พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม
           ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้
           ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
           ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ
           ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่
           ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
           ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
           ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
           ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ
           ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย
           ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา
           ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
           ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
           ๖๙. ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
           ๗๐. พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม
           ๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล
           ๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง
           ๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
           ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
           ๗๕. พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
           ๗๖. พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น
           ๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
           ๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
           ๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น
           ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ
       นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ;
       ดู มหาบุรุษลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อนุพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตาม
       คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
       ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย;
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อนุพุทธปวัตติ ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า;
       เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อนุมัติ เห็นตาม, ยินยอม, เห็นชอบตามระเบียบที่กำหนดไว้


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]