ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อก ”             ผลการค้นหาพบ  49  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 49
กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา อาการที่ต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 49
ขอโอกาส ดู โอกาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 49
ทำโอกาส ให้โอกาส;
       ดู โอกาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 49
เทือกเถา ต้นวงศ์ที่นับสายตรงลงมา, ญาติโดยตรงตั้งแต่บิดามารดาขึ้นไปถึงทวด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 49
บอก ในประโยคว่า “ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไป”
       ไม่ได้รับบอก คือยังไม่ได้รับอนุญาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 49
บอกวัตร บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป
       ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึง
           ปฏิบัติบูชา
           คาถาโอวาทปาฏิโมกข์
           คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม
           คำเตือนให้ใส่ใจในธรรม ในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
           ความไม่ประมาท
           เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ
           แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ
           ลำดับกาลในพระพุทธประวัติ
           สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน
           ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗
           จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ;
       ธรรมเนียมนี้ บัดนี้เลือนลางไปแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 49
บอกศักราช เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย
       การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต
       คือ บอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา ๕ พันปี
       แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ. เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล
       บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 49
ยักยอก เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความรักษาของตนไปโดยทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 49
ศิลาเทือก หินที่ติดเป็นพืดยาว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 49
สำรอก ทำสิ่งที่ไม่ต้องการให้หลุดออกมา, นำออก, เอาออก
       เช่น สำรอกสี จิตสำรอกจากอาสวะ อวิชชาสำรอกไป (วิราคะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 49
ให้โอกาส ดู โอกาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 49
อกนิษฐ์ รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุด
       (ข้อ ๕ ในสุทธาวาส ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 49
อกรณียะ กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ
       ๑. เสพเมถุน
       ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
       ๓. ฆ่ามนุษย์
       ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน
           (สำหรับภิกษุณี มี ๘);
       ดู อนุศาสน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 49
อกัปปิยะ ไม่ควร, ไม่สมควรแก่ภิกษุจะบริโภคใช้สอย
       คือ ต้องห้ามด้วยพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉัน,
       สิ่งที่ตรงข้ามกับ กัปปิยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 49
อกัปปิยวัตถุ สิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร คือ ภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 49
อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 49
อกาละ เวลาอันไม่ควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 49
อกาลจีวร จีวรที่เกิดขึ้นนอกเขต จีวรกาล นอกเขตอานิสงส์กฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 49
อกาลิโก พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล,
       ให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น ไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู,
       อีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป
       (ข้อ ๓ ในธรรมคุณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 49
อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
       อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ
       เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 49
อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ
       คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด;
       เทียบ กุปปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 49
อกุศล บาป, ชั่ว, ไม่ฉลาด, ความชั่ว, กรรมชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 49
อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป,
       การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจาก อกุศลมูล
       ดู กรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 49
อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
       เทียบ กุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 49
อกุศลจิตตุปบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 49
อกุศลเจตนา เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 49
อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป
       มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น
       ก. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ
           โมหะ อหิริกะ(ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ(ไม่กลัวบาป) อุทธัจจะ
       ข. ปกิณณกอกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรี่ยรายไป) ๑๐ คือ
           โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา(ริษยา)
           มัจฉริยะ กุกกุจจะ(เดือดร้อนใจ) ถีนะ(หดหู่) มิทธะ(ง่วงงุน) วิจิกิจฉา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 49
อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 49
อกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล,
       ต้นเหตุของความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 49
อกุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นอกุศล,
       ความนึกคิดที่ไม่ดี มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. กามวิตก คิดแส่ไปในทางกาม หาทางปรนปรือตน
           ๒. พยาบาทวิตก คิดในทางพยาบาท
           ๓. วิหิงสาวิตก คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 49
อนุศาสน์ การสอน, คำชี้แจง;
       คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จ
       ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔
       นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เที่ยวบิณฑบาต
           ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
           ๓. อยู่โคนไม้
           ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
           (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ)
       อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เสพเมถุน
           ๒. ลักของเขา
           ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุ หมายเอาฆ่ามนุษย์)
           ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 49
อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ
       ๑. รูป รูป
       ๒. สัททะ เสียง
       ๓. คันธะ กลิ่น
       ๔. รส รส
       ๕. โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย
       ๖. ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้;
       อารมณ์ ๖ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 49
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน ต่อเมื่อเลื่อนขึ้นไปเกิดในชั้นสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐะ
       (ข้อ ๕ ในอนาคามี ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 49
เอกฉันท์ มีความพอใจอย่างเดียวกัน, เห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 49
เอกเทศ ภาคหนึ่ง, ส่วนหนึ่ง, เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 49
เอกพีชี ผู้มีพืช คืออัตภาพอันเดียว หมายถึง พระโสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียว ก็จะบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดขึ้น
       (ข้อ ๑ ในโสดาบัน ๓, บางแห่งท่านจัดกลับเป็นข้อ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 49
เอกภัณฑะ ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 49
เอกวจนะ คำกล่าวถึงสิ่งของสิ่งเดียว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 49
เอกสิทธิ สิทธิพิเศษ, สิทธิโดยเฉพาะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 49
เอกเสสนัย อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว,
       เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้
       ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น
       พูดอย่างคำบาลีว่า “พระสารีบุตรทั้งหลาย” ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
       หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสส หมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป
       คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน)
       อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า “สุคติ (และ) โลกสวรรค์” สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่า สุคติ ในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 49
เอกอุ เลิศ, สูงสุด (ตัดมาจากคำว่า เอกอุดม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 49
เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
       (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);
       ดู ฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 49
เอกันตโลมิ เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 49
เอกายนมรรค ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔;
       อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 49
เอกาสนิกังคะ องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละครั้งเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น
       (ข้อ ๕ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 49
โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก, ความอิ่มใจเป็นพักๆ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่าเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
       (ข้อ ๓ ในปีติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 49
โอกกากราช กษัตริย์ผู้เป็นต้นสกุลของศากยวงศ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 49
โอกาส ช่อง, ที่ว่าง, ทาง,เวลาที่เหมาะ, จังหวะ;
       ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนาคือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย
       คำขอโอกาสว่า “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม”
       แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน”
       ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ
       คำให้โอกาส ท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”;
       ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ
           เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
           มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
           มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
           เป็นผู้เขลา
           ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบขอที่ซัก,
       องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า
           เป็นอลัชชี
           เป็นพาล
           มิใช่ปกตัตตะ
           กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด
           มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 49
โอกาสโลก โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, โลกซึ่งเป็นโอกาสแก่สัตว์ทั้งหลายที่จะอยู่อาศัย, โลกคือแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, จักรวาฬ
       (ข้อ ๓ ในโลก ๓)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%A1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]