ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุป ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง;
       ดู สติปัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กุปปธรรม “ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้” หมายถึง ผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่ยังไม่ชำนาญ อาจเสื่อมได้
       เทียบ อกุปปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กุลุปกะ, กุลูปกะ “ผู้เข้าถึงสกุล”,
       พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล, พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
คิลานุปฐาก ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
คิลานุปัฏฐากภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จตุปัจจัย เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง
       คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
จันทรุปราคา การจับจันทร์ คือเงาโลก เข้าไปปรากฏที่ดวงจันทร์ ขณะเมื่อดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์อยู่ตรงกันข้าม โดยมีโลกอยู่ระหว่างกลางที่เรียกว่า ราหูอมจันทร์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
จิตตานุปัสสนา สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า
       ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น
           จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ โทสะ โมหะ
           จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุม เป็นสงฆ์นั้น;
       พระราธะ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ทักขิณานุปทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
       (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ คือ
       ๑. สติ ความระลึกได้
       ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ธัมมานุปัสสนา การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม,
       สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร
       เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
บุปผวิกัติ ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
       ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
            เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
       ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
            เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
       ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
            เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
       ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
            เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนจึงมี
       ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
            เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
       ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
            เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
       ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
            เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
       ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
            เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
       ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
            เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
       ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
            เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
       ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
            เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
        โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
            โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม
        เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
            ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ปริสุปัฏฐาปกะ ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์ คือ พ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ปกครองหมู่ สงเคราะห์บริษัทได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน,
       ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ปัณฑุปลาส ใบไม้เหลือง (ใบไม้แก่);
       คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ปุปผวิกัติ ดอกไม้ที่แต่งเป็นชนิดต่างๆ เช่น ร้อยตรึง ร้อยคุม ร้อยเสียบ ร้อยผูก ร้อยวง ร้อยกรอง เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
พหุปุตตเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้นไทรนี้;
       เขียนว่า พหุปุตตกนิโครธ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
พุทธอุปฐาก ผู้คอยรับใช้พระพุทธเจ้า
       ในครั้งพุทธกาล มีพระอานนท์พุทธอนุชาเป็นผู้เลิศในเรื่องนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
พุทธุปบาทกาล กาลเป็นที่อุบัติของพระพุทธเจ้า, เวลาที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่า สังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด
       (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ภิกขุปาฏิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
มาตาปิตุอุปัฏฐาน การบำรุงมารดาบิดาให้มีความสุข
       (ข้อ ๓ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓, ข้อ ๑๑ ในมงคล ๓๘)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
เมทฬุปนิคม นิคมหนึ่งในสักกชนบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
โยมอุปัฏฐาก คฤหัสถ์ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระสงฆ์โดยเจาะจง อุปการะรูปใด ก็เป็นโยมอุปัฏฐากของรูปนั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อ;
       (ข้อ ๔ ในอนันตริยกรรม ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
เวทนานุปัสสนา สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
สรณคมนอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
       เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล
       ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว การบวชด้วยสรณคมน์ ก็ใช้สำหรับการบรรพชาสามเณรสืบมา
       ติสรณคมนูปสัมปทา ก็เรียก;
       ดู อุปสัมปทา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
       เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,
       ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์;
       เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
สัตตักขัตตุปรมะ พระโสดาบัน ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมากจึงจะได้บรรลุพระอรหัต
       (ข้อ ๓ ในโสดาบัน ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,
       ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,
       คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับสีลัพพตปรามาส
       (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย
       (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
สุปปพุทธะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าอัญชนะ
       เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและพระนางยโสธราพิมพา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
สุริยุปราคา การจับอาทิตย์ คือเงาดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ
       คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด;
       เทียบ กุปปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
อกุศลจิตตุปบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นในสภาพที่เป็นอนัตตา คือหาตัวตนเป็นแก่นสารมิได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
อนุบุพพิกถา ดู อนุปุพพิกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
อนุปสัมบัน ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี),
       ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี;
       เทียบ อุปสัมบัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
       เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ,
       ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์;
       เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
อนุปิยนิคม นิคมแห่งหนึ่งของมัลลกษัตริย์ ในแขวงมัลลชนบท อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกบิลพัสดุ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
อนุปิยอัมพวัน ชื่อสวน อยู่ในเขตอนุปิยนิคม แขวงมัลลชนบท เป็นที่พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ๗ วัน หลังจากเสด็จออกบรรพชาใหม่ๆ ก่อนเสด็จต่อไปสู่เมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ
       และต่อมาเป็นที่เจ้าศากยะ มี อนุรุทธ และอานนท์ เป็นต้น พร้อมด้วยอุบาลี ออกบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ,
       ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ
           รูปฌาน ๔
           อรูปฌาน ๔ และ
           สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ
       เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก
       เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจจ์
       มี ๕ คือ
           ๑. ทานกถา พรรณนาทาน
           ๒. สีลกถา พรรณนาศีล
           ๓. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม
           ๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม
           ๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
       อนุปุพพีกถา ก็มีใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
       คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
       เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
       อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
       (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
อัตถุปปัตติ เหตุที่ให้มีเรื่องขึ้น, เหตุให้เกิดเรื่อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ,
       ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่า มีข้อบกพร่อง ระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้
       (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
อุชุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       คือ ไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง
       หรือดำเนินทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา
       (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
อุทยัพพยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร;
       ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร,
       ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ
       (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
อุปกะ ชื่ออาชีวกผู้หนึ่ง ซึ่งพบกับพระพุทธเจ้าในระหว่างทาง ขณะที่พระองค์เสด็จจากพระศรีมหาโพธิ์ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
อุปการะ ความเกื้อหนุน, ความอุดหนุน, การช่วยเหลือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก
       มี ๑๖ อย่าง คือ
           ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร
           ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย
           ๓. โกธะ โกรธ
           ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้
           ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน
           ๖. ปลาสะ ตีเสมอ
           ๗. อิสสา ริษยา
           ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่
           ๙. มายา เจ้าเล่ห์
           ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด
           ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ
           ๑๒. สารัมภะ แข่งดี
           ๑๓. มานะ ถือตัว
           ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน
           ๑๕. มทะ มัวเมา
           ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ดู วิปัสสนูปกิเลส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
อุปฆาตกรรม กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลดี ที่เป็นอกุศลก็ดี ซึ่งมีกำลังแรง เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม หรืออุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตนเสีย แล้วให้ผลแทนที่
       (ข้อ ๘ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
อุปจาร เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ;
       ดังตัวอย่างคำที่ว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
       อาคารที่ปลูกขึ้นร่วมในแค่ระยะน้ำตกที่ชายคาเป็น เรือน,
       บริเวณรอบๆ เรือนซึ่งกำหนดเอาที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะออกไปหรือแม่บ้านยืนอยู่ภายในเรือนโยนกระด้ง หรือไม้กวาดออกไปภายนอกตกที่ใด ระยะรอบๆ กำหนดนั้นเป็นอุปจารเรือน
       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดี ยืนอยู่ที่เขตอุปจารเรือน ขว้างก้อนดินไป ก้อนดินที่ขว้างนั้นตกลงที่ใด ที่นั้นจากรอบๆ บริเวณอุปจารเรือน เป็นกำหนดเขตบ้าน,
       บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดีนั้นแหละ ยืนอยู่ที่เขตบ้านนั้นโยนก้อนดินไปเต็มกำลัง ก้อนดินตกเป็นเขตอุปจารบ้าน;
       สีมาที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสนั้น จะต้องเว้นบ้านและอุปจารบ้านดังกล่าวนี้เสีย จึงจะสมมติขึ้น คือ ใช้เป็นติจีวราวิปปวาสสีมาได้;
       ดู ติจีวราวิปปวาสสีมา ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ
       (ข้อ ๒ ในภาวนา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
อุปจารแห่งสงฆ์ บริเวณรอบๆ เขตสงฆ์ชุมนุมกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
อุปฐาก ดู อุปัฏฐาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
อุปติสสะ ดู สารีบุตร

อุปติสสปริพาชก คำเรียกพระสารีบุตรเมื่อบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อุปถัมภ์ การค้ำจุน, เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ, หล่อเลี้ยง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อุปธิ สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส,
       สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส
           1. ร่างกาย
           2. สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อุปนาหะ ผูกโกรธไว้, ผูกใจเจ็บ
       (ข้อ ๔ ในอุปกิเลส ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิตต์, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อุปนิสินนกถา “ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้”, การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเอง หรือไม่เป็นแบบแผนพิธี เพื่อตอบคำซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อุปบารมี บารมีขั้นรอง, บารมีขั้นจวนสูงสุด
       คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถบารมี เช่น
           สละทรัพย์ภายนอก เป็นทานบารมี
           สละอวัยวะ เป็นทานอุปบารมี
           สละชีวิต เป็นทานปรมัตถบารมี;
       ดู บารมี


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุป
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%BB


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]