ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุณ ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง
       คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ
       ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
       ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
       ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
       ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
       ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
       ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
นวรหคุณ คุณของพระอรหันต์ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่ พุทธคุณ ๙ นั่นเอง
       เขียน นวารคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
           ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
           ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
           ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
           ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
           ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
           ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
           ๗. สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
           ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค
       พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
       หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
           ๓. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ
       ๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี
       ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
       ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
           (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
       ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย
       ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
       ๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ
       ๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้
       ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุณ_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%B3_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]