ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. ชีวกวัตถุ
เรื่องหมอชีวก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่หมอชีวก ดังนี้) [๙๐] ผู้บรรลุจุดหมายปลายทางแล้ว๒- ไร้ความโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง๓- ละกิเลสเครื่องร้อยรัด๔- ได้หมด ย่อมไม่มีความเร่าร้อน @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๔/๓๓-๓๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖๙/๓๐๔-๓๐๖ @ ผู้บรรลุจุดหมายปลายทาง หมายถึงพระขีณาสพผู้ถึงที่สุดแห่งสังสารวัฏ (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ ธรรมทั้งปวง หมายถึงธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ กิเลสเครื่องร้อยรัด หมายถึงกิเลส ๔ อย่าง คือ (๑) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น @(๒) พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) อิทังสัจจาภินิเวส @ความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๕) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๙/๑๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตวรรค ๓. เพฬัฏฐสีสเถรวัตถุ

๒. มหากัสสปเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๙๑] ผู้มีสติ หมั่นประกอบความเพียร๑- ไม่ติดในที่อยู่ ละความห่วงอาลัยไป เหมือนหงส์ละเปือกตมไป ฉะนั้น
๓. เพฬัฏฐสีสเถรวัตถุ
เรื่องพระเพฬัฏฐสีสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๙๒] ผู้ไม่มีการสั่งสม๒- กำหนดรู้อาหารก่อนแล้วจึงบริโภค มีสุญญตวิโมกข์๓- และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นอารมณ์ ไม่ทิ้งทางไว้ให้เป็นที่รู้ได้ เหมือนนกไม่ทิ้งทางไว้ในอากาศ ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ผู้มีสติ หมั่นประกอบความเพียร ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้มีสติไพบูลย์ หมั่นประกอบในคุณธรรมมี @ฌานและวิปัสสนา เป็นต้น ที่ตนได้บรรลุแล้วโดยการนึก การเข้า การออก การอธิษฐาน และการพิจารณา @(ขุ.ธ.อ. ๔/๕๘) @ การสั่งสม มี ๒ อย่าง คือ (๑) กัมมสันนิจยะ การสั่งสมกรรมคือกุศลและอกุศล (๒) ปัจจยสันนิจยะ @การสั่งสมปัจจัย ๔ (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๙) @ สุญญตวิโมกข์ หมายถึงสภาวะที่หลุดพ้น เพราะว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ @อนิมิตตวิโมกข์ หมายถึงสภาวะที่หลุดพ้น เพราะไม่มีนิมิต คือ ราคะ เป็นต้น @ในคาถาที่ ๙๒-๙๓ นี้ หมายรวมถึงอัปปณิหิตวิโมกข์ ได้แก่ สภาวะที่หลุดพ้น เพราะไม่มีที่ตั้งคือกิเลส @มีราคะเป็นต้นด้วย วิโมกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นชื่อของนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๙-๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตวรรค ๕. มหากัจจายนเถรวัตถุ

๔. อนุรุทธเถรวัตถุ
เรื่องพระอนุรุทธเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๙๓] ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่ติดในอาหาร มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นอารมณ์ ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เป็นที่รู้ได้ เหมือนนกไม่ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ ฉะนั้น๑-
๕. มหากัจจายนเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัจจายนเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๙๔] ผู้ใดฝึกอินทรีย์๒- ให้สงบได้ เหมือนม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว ผู้นั้นย่อมละมานะได้ ไม่มีอาสวะ คงที่ แม้ทวยเทพทั้งหลายก็รักใคร่ @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๒/๓๓๗ @ อินทรีย์ หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ขุ.ธ.อ. ๔/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตวรรค ๘. สารีปุตตเถรวัตถุ

๖. สารีปุตตเถรวัตถุ
เรื่องพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๙๕] ภิกษุผู้คงที่ มีวัตรงาม ไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อน (มีใจผ่องใส) เหมือนห้วงน้ำไร้เปือกตม สังสารวัฏย่อมไม่มีแก่ผู้เช่นนั้น
๗. โกสัมพีวาสีติสสเถรสามเณรวัตถุ
เรื่องสามเณรของพระติสสเถระชาวเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระติสสเถระชาวเมืองโกสัมพี ดังนี้) [๙๖] ผู้หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ผู้สงบ ผู้คงที่ ย่อมมีมโนกรรมที่สงบ วจีกรรมที่สงบ กายกรรมที่สงบ
๘. สารีปุตตเถรวัตถุ
เรื่องพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้อยู่ในป่า ๓๐ รูป ดังนี้) [๙๗] นรชนใด ผู้ไม่ต้องเชื่อใคร๑- รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ ไม่ต้องเชื่อใคร ในที่นี้หมายถึงรู้แจ้งธรรมอย่างประจักษ์ชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องรอสดับธรรมจากผู้อื่น @(ขุ.ม.อ. ๘๘/๓๓๙-๓๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตรรค ๑๐. อัญญตริตถีวัตถุ

ตัดรอยต่อ๑- แห่งการเกิดใหม่ ทำลายโอกาส๒- แห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร คายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด๓-
๙. ขทิรวนิยเรวตเถรวัตถุ
เรื่องพระเรวตเถระผู้อยู่ในป่าไม้ตะเคียน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางวิสาขามิคารมาตา ดังนี้) [๙๘] พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่สถานที่ใด คือ จะเป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม สถานที่นั้น เป็นรมณียสถาน๔-
๑๐. อัญญตริตถีวัตถุ
เรื่องหญิงคนใดคนหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดังนี้) [๙๙] ท่านผู้ปราศจากราคะทั้งหลาย จะยินดีป่าทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ ที่ชนผู้แสวงหากามไม่ยินดี เพราะท่านเหล่านั้นไม่แสวงหากาม๕-
อรหันตวรรคที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ รอยต่อ หมายถึงวัฏฏสนธิ (รอยต่อคือวัฏฏะ) สังสารสนธิ (รอยต่อคือสงสาร) (ขุ.ธ.อ. ๔/๗๓-๗๔) @ ทำลายโอกาส หมายถึงทำลายโอกาสที่จะเกิดอีกได้ เพราะสิ้นเชื้อพันธุ์คือกุศลกรรมและอกุศลกรรม @(ขุ.ธ.อ. ๔/๗๔) @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๘/๒๗๕ @ ในคาถานี้มีนัยว่า แม้ในหมู่บ้านจะหาความสงบกายไม่ได้ก็จริง แต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้ความสงบใจ @เพราะอารมณ์ทั้งหลายหาทำจิตของท่านให้หวั่นไหวได้ไม่ ดังนั้น ที่ไหนก็ตามย่อมเป็นที่พระอรหันต์อยู่ได้ @และที่นั้นย่อมเป็นสถานที่รื่นรมย์ (ขุ.ธ.อ. ๔/๘๐) และดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๑/๕๐๒ @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๒/๕๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๖-๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=515&Z=543                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=17&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=21&A=1085              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=17&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=21&A=1085                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i017-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i017-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.07.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.07.budd.html https://suttacentral.net/dhp90-99/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp90-99/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp90-99/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :