ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๖. ปัณฑิตวรรค
หมวดว่าด้วยบัณฑิต
๑. ราธเถรวัตถุ
เรื่องพระราธเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๗๖] บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษ มักพูดปรามไว้ เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ (และ) พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย๓- @เชิงอรรถ : @ สักการะ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย ๔ (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร) (ขุ.ธ.อ. ๓/๑๘๙) @ วิเวก หมายถึงความสงัด มี ๓ คือ (๑) กายวิเวก ความสงัดกาย (๒) จิตตวิเวก ความสงัดใจ (๓) อุปธิวิเวก @ความสงัดอุปธิ (ขุ.ธ.อ. ๓/๑๘๙-๑๙๐) @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๓/๕๐๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๐๘/๖๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๖. ปัณฑิตวรรค ๔. มหากัปปินเถรวัตถุ

๒. อัสสชิปุนัพพสุกวัตถุ
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๗๗] ผู้ใดพึงกล่าวสอน พร่ำสอน และห้ามจากความชั่ว ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษทั้งหลาย๑-
๓. ฉันนเถรวัตถุ
เรื่องพระฉันนเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๗๘] บุคคลไม่พึงคบมิตรชั่ว๒- ไม่พึงคบคนต่ำช้า๓- พึงคบแต่กัลยาณมิตร พึงคบแต่สัตบุรุษ
๔. มหากัปปินเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัปปินเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๗๙] บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม๔- มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยะประกาศแล้วทุกเมื่อ @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๕/๕๐๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๐๘/๖๑๐ @ มิตรชั่ว หมายถึงผู้ยินดีในอกุศลกรรม มีกายทุจริต เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๗) @ คนต่ำช้า หมายถึงคนที่ชักนำในสิ่งที่ไม่สมควร มีการตัดช่องย่องเบา เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๗) @ ผู้อิ่มเอิบในธรรม หมายถึงบุคคลผู้บรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) @(ขุ.ธ.อ. ๔/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๖. ปัณฑิตวรรค ๗. กาณมาตาวัตถุ

๕. ปัณฑิตสามเณรวัตถุ
เรื่องบัณฑิตสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๐] คนไขน้ำ ย่อมไขน้ำ ช่างศร ย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ ย่อมถากไม้ บัณฑิต ย่อมฝึกตน๑-
๖. ลกุณฑกภัททิยเถรวัตถุ
เรื่องพระลกุณฑกภัททิยเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๑] ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาหรือสรรเสริญ๒- ฉันนั้น
๗. กาณมาตาวัตถุ
เรื่องมารดาของนางกาณา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๒] บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส๓- ดุจห้วงน้ำที่ลึก ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ฝึกตน หมายถึงฝึกฝนตนเองเพื่อบรรลุอรหัตตผล (ขุ.ธ.อ. ๔/๓๙) และดู ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๑, @ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๗/๔๘๔ @ ในคาถานี้ แม้จะตรัสโลกธรรมไว้เพียง ๒ ประการ คือ นินทาและสรรเสริญก็จริง แต่พึงทราบว่า ทรงแสดง @โลกธรรมไว้ทั้ง ๘ ประการ ความหมายโดยสรุป คือ ไม่หวั่นไหวทั้งในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา) @และอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) (ขุ.ธ.อ. ๔/๔๐) @ ผ่องใส ในที่นี้หมายถึงบรรลุสภาวะที่จิตปราศจากอุปธิกิเลสด้วยอำนาจโสดาปัตติมรรค เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๖. ปัณฑิตวรรค ๙. ธัมมิกเถรวัตถุ

๘. ปัญจสตภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๓] สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวง๑- สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่พร่ำเพ้อเพราะกามคุณเป็นเหตุ บัณฑิตทั้งหลายจะประสบสุขหรือทุกข์ ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง๒-
๙. ธัมมิกเถรวัตถุ
เรื่องพระธัมมิกเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๔] บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะตนเป็นเหตุ หรือเพราะผู้อื่นเป็นเหตุ บุคคลไม่พึงปรารถนาบุตร ทรัพย์ แว่นแคว้น หรือความสำเร็จเพื่อตน โดยไม่ชอบธรรม พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และยึดมั่นอยู่ในธรรม @เชิงอรรถ : @ ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวง หมายถึงมีอรหัตตมัคคญาณเป็นเครื่องเว้นหรือละฉันทราคะ(ความกำหนัดด้วย @อำนาจความพอใจ)ในขันธ์ ๕ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๔๖) @ ไม่แสดงอาการขึ้นลง หมายถึงไม่แสดงอาการยินดีหรือยินร้ายเมื่อถูกโลกธรรมกระทบ (ขุ.ธ.อ. ๔/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๖. ปัณฑิตวรรค ๑๑. ปัญจสตอาคันตุกภิกขุวัตถุ

๑๐. ธัมมัสสวนวัตถุ๑-
เรื่องการฟังธรรม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๘๕] ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้น๒- มีจำนวนน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้๓- ทั้งนั้น [๘๖] ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๔- ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก ไปถึงฝั่งโน้นได้
๑๑. ปัญจสตอาคันตุกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุอาคันตุกะ ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุอาคันตุกะผู้อยู่ในแคว้นโกศล ดังนี้) [๘๗] บัณฑิตละธรรมดำ๕- แล้วพึงเจริญธรรมขาว๖- ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ๗- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๔/๓๓, ๑๙๘/๑๓๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๗/๒๖๙-๒๗๐ @ ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๐, สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖) @ ฝั่งนี้ หมายถึงสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน) (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๐) หรือหมายถึงวัฏฏะ @(สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖) @ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ @นิพพาน ๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕) @ ธรรมดำ หมายถึงอกุศลธรรม มีกายทุจริต เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) @ ธรรมขาว หมายถึงกุศลธรรม มีกายสุจริต เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) @ ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ หมายถึงออกจากวัฏฏะที่เรียกว่า โอกะ (ที่มีน้ำ) มาสู่วิวัฏฏะที่เรียกว่า อโนกะ @(ที่ไม่มีน้ำ) ได้แก่ นิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๔๐/๑๙๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕, ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๗. อรหันตวรรค ๑. ชีวกวัตถุ

[๘๘] ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนายินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง พึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย [๘๙] บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๑-
ปัณฑิตวรรคที่ ๖ จบ
๗. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. ชีวกวัตถุ
เรื่องหมอชีวก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่หมอชีวก ดังนี้) [๙๐] ผู้บรรลุจุดหมายปลายทางแล้ว๒- ไร้ความโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง๓- ละกิเลสเครื่องร้อยรัด๔- ได้หมด ย่อมไม่มีความเร่าร้อน @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๔/๓๓-๓๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖๙/๓๐๔-๓๐๖ @ ผู้บรรลุจุดหมายปลายทาง หมายถึงพระขีณาสพผู้ถึงที่สุดแห่งสังสารวัฏ (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ ธรรมทั้งปวง หมายถึงธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๔) @ กิเลสเครื่องร้อยรัด หมายถึงกิเลส ๔ อย่าง คือ (๑) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น @(๒) พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) อิทังสัจจาภินิเวส @ความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง (ขุ.ธ.อ. ๔/๕๕) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๙/๑๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๑-๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=479&Z=514                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=16&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=21&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=16&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=21&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i016-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i016-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.06.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.06.budd.html https://suttacentral.net/dhp76-89/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp76-89/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp76-89/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :