ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๒. พาหิยทารุจีริยเถรวัตถุ

๘. สหัสสวรรค
หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
๑. ตัมพทาฐิกโจรฆาตกวัตถุ
เรื่องเพชฌฆาตโจรเคราแดง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๐๐] คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียว๑- ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้๒- ย่อมดีกว่าคำพูดที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คำ
๒. พาหิยทารุจีริยเถรวัตถุ
เรื่องพระพาหิยทารุจีริยเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๐๑] คาถาที่มีประโยชน์คาถาเดียว ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา @เชิงอรรถ : @ มีประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงเป็นคำที่แสดงเรื่องนิพพาน หรือเรื่องขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ @โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน (ขุ.ธ.อ. ๔/๙๒) @ สงบระงับ หมายถึงสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ (ขุ.ธ.อ. ๔/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๔. อนัตถปุจฉกพราหมณวัตถุ

๓. กุณฑลเกสีเถรีวัตถุ
เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๐๒] ธรรมะบทหนึ่ง๑- ที่คนฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑๐๐ คาถา [๑๐๓] ผู้ชนะข้าศึกจำนวนพันคูณด้วยพันในสงคราม หาชื่อว่าผู้ชนะที่ยอดเยี่ยมไม่ แต่ผู้ชนะตน๒- ได้ จึงชื่อว่า ผู้ชนะที่ยอดเยี่ยม
๔. อนัตถปุจฉกพราหมณวัตถุ
เรื่องอนัตถปุจฉกพราหมณ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ ดังนี้) [๑๐๔] การชนะตนของบุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว๓- ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์นั่นแล ประเสริฐกว่าการชนะผู้อื่น [๑๐๕] เทวดา คนธรรพ์ มาร หรือพรหม ไม่อาจทำชัยชนะของบุคคลเช่นนั้นให้กลับแพ้ได้เลย @เชิงอรรถ : @ ธรรมะบทหนึ่ง หมายถึงข้อธรรมหนึ่งในหมวดธรรมที่มีหลายข้อ เช่น หมวดธรรม ๔ คือ (๑) อนภิชฌา @(๒) อพยาบาท (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ แต่ละข้อเป็นธรรมะบทหนึ่ง (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๐๖) @ ชนะตน หมายถึงชนะกิเลสมีโลภะ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๐๖) @ ผู้ฝึกตนดี ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๖. สารีปุตตเถรภาคิเนยยวัตถุ

๕. สารีปุตตเถรมาตุลพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ ดังนี้) [๑๐๖] การบูชาของบุคคลผู้บูชาท่านที่อบรมตนดี๑- แล้ว คนเดียว แม้เพียงครู่เดียว ประเสริฐกว่าการบูชาของบุคคลผู้บูชายัญ๒- ด้วยทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ กหาปณะทุกๆ เดือน ตลอด ๑๐๐ ปี
๖. สารีปุตตเถรภาคิเนยยวัตถุ
เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ดังนี้) [๑๐๗] การบูชาของบุคคลผู้บูชาท่านที่อบรมตนดีแล้ว คนเดียว แม้เพียงครู่เดียว ประเสริฐกว่าการบูชาของบุคคลผู้บูชาไฟในป่าเป็นเวลา ๑๐๐ ปี @เชิงอรรถ : @ ท่านที่อบรมตนดี ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันตขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๑๐) @ บูชายัญ หมายถึงให้ทานแก่มหาชน (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๙. สังกิจจสามเณรวัตถุ

๗. สารีปุตตเถรสหายกพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระสารีบุตรเถระ ดังนี้) [๑๐๘] การไหว้ท่านผู้ปฏิบัติตรง ประเสริฐกว่าการบูชายัญและการบวงสรวงใดๆ ในโลก ที่ผู้หวังบุญทำอยู่ตลอดปี เพราะการบูชายัญและการบวงสรวงทั้งหมดนั้น มีค่าไม่ถึงหนึ่งในสี่๑-
๘. อายุวัฑฒนกุมารวัตถุ
เรื่องอายุวัฒนกุมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อายุวัฒนกุมารและอุบาสก ๕๐๐ คน ดังนี้) [๑๐๙] ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้กราบไหว้ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์
๙. สังกิจจสามเณรวัตถุ
เรื่องสังกิจจสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๑๑๐] ผู้มีศีล เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าคนทุศีล ไม่มีจิตตั้งมั่น ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี @เชิงอรรถ : @ มีค่าไม่ถึงหนึ่งในสี่ หมายถึงอานิสงส์ไม่ถึง ๑ ส่วนใน ๔ ส่วนแห่งผลที่เกิดจากการมีกุศลเจตนาคือจิต @เลื่อมใสแล้วน้อมกายไหว้พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติตรง (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๑๒. ปฏาจาราเถรีวัตถุ

๑๐. ขาณุโกณฑัญญเถรวัตถุ
เรื่องพระขาณุโกณฑัญญเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เป็นศิษย์พระขาณุโกณฑัญญเถระ ดังนี้) [๑๑๑] ผู้มีปัญญา เพ่งพินิจ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้มีปัญญาทราม ไม่มีจิตตั้งมั่น ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี๑-
๑๑. สัปปทาสเถรวัตถุ
เรื่องพระสัปปทาสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๑๒] ผู้มีความเพียรมั่นคง๒- แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน ไม่มีความเพียร ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
๑๒. ปฏาจาราเถรีวัตถุ
เรื่องพระปฏาจาราเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระปฏาจาราเถรี ดังนี้) [๑๑๓] ผู้เห็นความเกิดและความดับ๓- แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นความเกิดและความดับ ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี๔- @เชิงอรรถ : @ ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๒๓๙/๔๘๖ @ มีความเพียรมั่นคง หมายถึงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักแน่น สามารถจะให้เกิดฌาน ๒ ประการ คือ @(๑) อารัมมณูปนิชฌาน(การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) (๒) ลักขณูปนิชฌาน @(การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล) @ เห็นความเกิดและความดับ หมายถึงเห็นความเกิดและความดับของขันธ์ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๔๒) @ ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๘๑/๔๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๘. สหัสสวรรค ๑๔. พหุปุตติกาเถรีวัตถุ

๑๓. กิสาโคตมีวัตถุ
เรื่องนางกิสาโคตมี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางกิสาโคตมี ดังนี้) [๑๑๔] ผู้เห็นทางอมตะ๑- แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นทางอมตะ ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
๑๔. พหุปุตติกาเถรีวัตถุ
เรื่องพระพหุปุตติกาเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระพหุปุตติกาเถรี ดังนี้) [๑๑๕] ผู้เห็นธรรมอันสูงสุด๒- แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมอันสูงสุด ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
สหัสสวรรคที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ทางอมตะ หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๔๗) @ ธรรมอันสูงสุด ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (ขุ.ธ.อ. ๔/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๑-๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=544&Z=586                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=18&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=21&A=1780              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=18&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=21&A=1780                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i018-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i018-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.08.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.08.budd.html https://suttacentral.net/dhp100-115/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp100-115/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp100-115/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :