ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. มุสาวาทวรรค
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา๑-
[๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้ แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วน ซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ทำ อย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก” ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก” ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน ทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวก เรา โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก” @เชิงอรรถ : @ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์แปล เล่ม ๑ ข้อ ๑๙๓ หน้า ๑๗๗ ว่าด้วยการอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน ทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดี พวกเรามากล่าวอวด อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก” ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้ พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็น พระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖” ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี แล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติเหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำพรรษา เลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ... ปานะ (เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน ไม่ขบ เคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบ หน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง [๖๘] มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้ มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ

มหาวัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง ถวายอภิวาท แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มี ผิวพรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กลับมีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นก็เป็น พุทธประเพณี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่ ลำบากหรือ” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะ กัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ กาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถาม เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ทำ อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่น จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “มีจริง พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเพราะเห็นแก่ปาก แก่ท้องเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๙] ก็ ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ได้แก่ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี ในเรือนว่าง คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ คำว่า ญาณทัสสนะ ได้แก่ วิชชา ๓ คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน
กล่าวอวดปฐมฌาน
[๗๑] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌาน แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญใน ปฐมฌาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้ง แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกทุติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน...จตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้ แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ...อัปปณิหิตวิโมกข์ ...สุญญตสมาธิ ...อนิมิตตสมาธิ ...อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ อัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติ ...อนิมิตตสมาบัติ ...อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิต สมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกวิชชา ๓
คำว่า บอก คือภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็น ผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้ แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมี องค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรค มีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผล... สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอรหัตตผล ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกการสละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกว่าจิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
บอกปฐมฌาน - จตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกปฐมฌานและทุติยฌาน
[๗๒] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน และทุติยฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ ปฐมฌานและทุติยฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ ทุติยฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและตติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ ตติยฌาน ฯลฯ ปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้า ทำปฐมฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์... อัปปณิหิตวิโมกข์... สุญญตสมาธิ... อนิมิตตสมาธิ... อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ สุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ... อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้า เป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกปฐมฌานและวิชชา ๓
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและ วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ สติปัฏฐาน ๔ ...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้า เป็นผู้ได้ปฐมฌานและพละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ พละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ โพชฌงค์ ๗ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ โพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

ผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌานและโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้ ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌาน - สละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ข้าพเจ้า สละราคะ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ ขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกปฐมฌาน-จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของ ข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกทุติยฌานและจตุตถฌาน
[๗๓] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน และตติยฌาน ทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ ทุติยฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ สุญญตวิโมกข์แล้ว ฯลฯ และจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกทุติยฌานและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ ปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ ทุติยฌานและปฐมฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและ ปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)
บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของ ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ฯลฯ
บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและโทสะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจาก โมหะและจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
บอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติย ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

วัตตุกามวารกถา
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน
[๗๔] คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้า เข้าปฐมฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ ราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ ขึ้นแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ประสงค์จะบอกทุติยฌาน - จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ประสงค์จะบอกทุติยฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ (มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

ประสงค์จะบอกว่าจิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ประสงค์จะบอกทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌาน
[๗๕] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหาร ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็น ผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น ทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน... จตุตถฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้น เข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ...ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำ อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้อง อาบัติทุกกฏ
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวอวดอนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นสละราคะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละโทสะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากราคะ จิตของภิกษุรูปนั้น ปลอดจากโทสะ จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌานในเรือนว่าง ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูป นั้นเป็นผู้ชำนาญ...ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน ภิกษุรูปใดฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใด บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑- ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง แล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุ รูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติ ทุกกฏ [๗๖] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “วิหารของท่านภิกษุรูปใด ใช้สอยแล้ว จีวรของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว เสนาสนะของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใด บริโภคแล้ว ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุ รูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น ทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐, @สารตฺถ. ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือบริวารของชีวิต @ดุจกำแพงล้อมพระนคร เพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น @สัมภาระของชีวิต คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗, @ม.มู ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) @เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป @(สารตฺถ. ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๘. ภูตาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร

คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ท่านอาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้ ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวายเสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้นเข้าแล้ว กำลังเข้า เป็นผู้เข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง ภิกษุรูป นั้นเป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๗] ๑. ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อุปสัมบัน ๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
ภูตาโรจนสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๕๒-๒๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=7468&Z=8399                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=304              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=304&items=38              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6403              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=304&items=38              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6403                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc8/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :