ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระ ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. จีวรวรรค
หมวดว่าด้วยจีวร
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขต กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตไตรจีวรเพื่อภิกษุทั้งหลายแล้ว พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไตรจีวร๑- แล้ว จึงเข้าหมู่บ้าน @เชิงอรรถ : @ ไตรจีวร คือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) (วิ.อ. ๒/๔๕๙/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ

โดยครองไตรจีวร ๑ไตร อยู่ในอารามอีก ๑ ไตร สรงน้ำอีก ๑ ไตร บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรงอติเรกจีวร๑- เล่า” ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทรงอติเรกจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อย ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรก จีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป ฯลฯ” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒- สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อติเรกจีวร คือผ้าส่วนเกินที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามาจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร @ ที่แปลว่า “ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์” นี้เป็นไปตามนัยอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ, @ตญฺจ จีวรํ นิสฺสคฺคิยํ โหติ, ปาจิตฺติยาปตฺติ จสฺส โหติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือจีวรเป็น @นิสสัคคีย์ต้องสละ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์” (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒, กงฺขา.อ. ๑๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

เรื่องพระอานนท์
[๔๖๑] สมัยนั้น อติเรกจีวรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านต้องการจะถวาย อติเรกจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมืองสาเกต ทีนั้น ท่าน พระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่ พึงทรงอติเรกจีวร’ ก็อติเรกจีวรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เราต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา” พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตอติเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็น อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๔๖๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว๑- ภิกษุพึงทรง อติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์๒-
เรื่องพระอานนท์ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า “กฐินเดาะ” ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์ @กฐินที่ภิกษุพึงได้รับ (ดูเหตุให้กฐินเดาะ เชิงอรรถข้อ ๔๖๓ หน้า ๔) @ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คืออาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุผู้ต้องแล้วเมื่อจะแสดงเทสนาบัติ จะต้องทำการสละวัตถุ @ก่อน จึงจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัตินี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ เป็นจีวร คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด อย่างหนึ่งในมาติกา ๘ ๑- หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง๒- คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน๓- ไม่ได้วิกัป๔- ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๕ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ @เชิงอรรถ : @ มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ (๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุ @หลีกไป ไม่คิดจะกลับ (๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตัดเย็บ @จีวร ไม่คิดจะกลับ (๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตกลงใจ @จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ (๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา @ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป (๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ @ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว @(๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมาด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมด @หวัง (๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่ @อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ (๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่ @นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕) @ สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร @มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน) พระพุทธ @องค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้ (วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๙๒๕-๙๒๖/๑๒๑-๑๒๒) @ อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิด @นั้นๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, @วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๗) @ เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่ @วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด @ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร @ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน) ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง อรุณวันที่ ๑๑ จีวรผืนนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม เกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง แสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ๑- พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า [๔๖๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
[๔๖๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า [๔๖๖] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” @เชิงอรรถ : @ คือรับการแสดงอาบัติ เพื่อให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติพ้นจากอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
[๔๖๗] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๖๘] จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง อาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๖๙] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน ๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน ๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน ๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหายภายใน ๑๐ วัน ๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน ๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๑๐ วัน ๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน ๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ [๔๗๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร

ทรงสอบถามแล้วอนุญาตให้คืนจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ทราบว่า พวกเธอไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ไฉนพวกเธอจึงไม่ ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับ จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย เป็นอื่นไป ฯลฯ” ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับ เรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุสละแก่สงฆ์ แก่ คณะหรือแก่บุคคล จะไม่คืนไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ”
ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑-๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1&Z=155                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=1&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3262              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=1&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3262                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np1/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :