ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๗๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๖. สันทกสูตร

ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกันมา เชื่อว่าจริง ด้วยการฟังตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง การฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้น รู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว [๒๓๑] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ๑- เป็นนักอภิปรัชญา๒- ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน ตามหลักเหตุผล และการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ก็ย่อม มีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ศาสดานี้ เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ศาสดานั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนัก อภิปรัชญา ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น @เชิงอรรถ : @ นักตรรกะ (ตกฺกี) ผู้ที่ใช้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์ (Logic) มี ๔ จำพวก คือ อนุสสติกะ อนุมาน @จากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ชาติสสระ อนุมานโดยการระลึกชาติ ลาภิตักกิกะ อนุมานจาก @ประสบการณ์ภายในของตน และสุทธิตักกิกะ อนุมานโดยใช้เหตุผลล้วนๆ (ที.สี.อ. ๑/๓๔/๙๘-๙๙) @ นักอภิปรัชญา (วีมํสี) ผู้ที่ใช้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริงเอาจากการเทียบเคียงจนพอใจถูกใจแล้ว @ยึดถือเป็นทฤษฎี เช่น คาดคะเนในเรื่องที่เกี่ยวกับปฐมเหตุของโลกและจักรวาล (ที.สี.อ. ๑/๓๔/๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๗๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๗๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=272&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=7633 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=7633#p272 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]