ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

๔. จตุกกนิทเทส
[๗๙๓] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิซึ่งมีลักษณะว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก” ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ เว้นสัจจานุโลมิกญาณเสีย ปัญญาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะแม้ทั้งหมดชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสมซึ่งมีลักษณะหรือว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ หรือวิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ (๑) [๗๙๔] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในทุกข์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกข์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

[๗๙๕] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นกามาวจรชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นอรูปาวจรชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓) [๗๙๖] ธัมมญาณ เป็นไฉน ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงนำนัย(คือปัจจเวกขณญาณ)ไปในอดีตและ อนาคตด้วยธรรมนี้ซึ่งทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ทรงรู้แจ้ง และทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ และรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้ รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้ รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในการนำนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น นี้เรียกว่า อันวยญาณ ปริจจญาณ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต คือ รู้จิตมีราคะว่า จิตมีราคะ รู้จิตปราศจากราคะว่าจิตปราศจากราคะ รู้จิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ รู้จิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้จิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ รู้จิตปราศจากโมหะว่า จิตปราศจากโมหะ รู้จิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ รู้จิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ รู้จิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิต ไม่เป็นมหัคคตะ รู้จิตเป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ รู้จิตอนุตตระว่าจิตอนุตตระ รู้จิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้จิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้จิต หลุดพ้นว่า จิตหลุดพ้น หรือรู้จิตไม่หลุดพ้นว่า จิตไม่หลุดพ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นนั้น นี้เรียกว่า ปริจจญาณ เว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณแล้ว ปัญญาที่เหลือชื่อว่า สมมติ- ญาณ (๔) [๗๙๗] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในกามาวจรกุศลชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลชื่อว่า อาจย- อปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา (๕) [๗๙๘] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน บุคคลเป็นผู้ปราศราคะในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจจะ ทั้งหลายด้วยปัญญาใด นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา บุคคลนั้นเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลายนั่นแหละได้แทงตลอดอภิญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา ปัญญาที่เหลือ ชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา (๖) [๗๙๙] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยกามครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ปฐมฌานชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่ไม่สหรคตด้วยวิตกครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา- มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินี- ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิตกครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติยฌานชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา- มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินี- ปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยปีติและสุขครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ชื่อ ว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยรูปครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนะ ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินี- ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสส- ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคล ผู้ได้วิญญาณัญจายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบ ด้วยวิราคะ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ อากิญจัญญายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทา ประกอบ ด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

[๘๐๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ) ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (๘) [๘๐๑] ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน ปฏิปทา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) ๒. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว) ๓. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า) ๔. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่ รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา ๔ (๙) [๘๐๒] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน อารัมมณปัญญา ๔ คือ ๑. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ๒. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ๓. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ๔. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ บรรดาอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้ กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะ เป็นอารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ (๑๐) มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ นี้ความรู้ในชรามรณะ นี้ความรู้ในชรามรณสมุทัย นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธ นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในชรามรณะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณสมุทัย ฯลฯ ปรารภ ชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธ ฯลฯ ปรารภชรามรณ- นิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๑) [๘๐๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนาม ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขาร ฯลฯ ความรู้ในสังขารสมุทัย ความรู้ในสังขารนิโรธ และ ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๒-๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ- คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๒๒-๒๔) ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิทเทส จบ
๕. ปัญจกนิทเทส
[๘๐๔] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต๑- (ปัจจเวกขณญาณ) ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญา ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ นั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๑) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ @เชิงอรรถ : @ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน @(อภิ.วิ.อ. ๘๐๔/๔๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก๑- ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี ญาณ ๕ (๒) ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ
๖. ฉักกนิทเทส
[๘๐๕] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ ๑. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) ๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์) ๓. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น) ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้) ๕. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด) ๖. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา ๖ ๒- ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)
๗. สัตตกนิทเทส
[๘๐๖] ในญาณวัตถุหมวดละ ๗ นั้น ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ ไม่มี @เชิงอรรถ : @ จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๔๖/๒๐๖) @ อภิญญา ๖ นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. ๘๐๕/๔๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๑๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๐๙-๕๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=14381&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=10829&Z=11352&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=801              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=801&items=34              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=801&items=34              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]