ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๗. อธิกรณสมถะ]

บทสรุป

๗. อธิกรณสมถะ
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้น แสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ [๑๒๔๒] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย (๒) พึง ให้สติวินัย (๓) พึงให้อมูฬหวินัย (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ (๕) พึงให้เยภุยยสิกา (๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา (๗) พึงให้ติณวัตถารกวินัย๑-
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า “แม่เจ้า ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
อธิกรณสมณะ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมุขาวินัย วิธีตัดสินในที่พร้อมหน้าสงฆ์ พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม สติวินัย @วิธีตัดสินโดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ อมูฬหวินัย วิธีตัดสินโดยยกประโยชน์ให้ @ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า ปฏิญญาตกรณะ วิธีตัดสินตามคำรับของจำเลย เยภุยยสิกา วิธีตัดสิน @ตามเสียงข้างมาก ตัสสปาปิยสิกา วิธีตัดสินโดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด ติณวัตถารกะ วิธีตัดสินโดยการ @ประนีประนอม @อธิกรณ์ ๔ ประการระงับด้วยอธิกรณสมณะแต่ละอย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและ @เยภุยยสิกา อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย @ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย @(กงฺขา.อ. ๓๓๘-๓๓๙, ดู องฺ.ทุก. ๒๐/๒๐๒-๒๐๓/๑๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๐๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=3&A=10145&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=7172&Z=7181&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=503              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=503&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=503&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]