ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๔. อัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟกิเลส
[๙๓] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ไฟ ๓ กอง คือ ๑. ไฟคือราคะ ๒. ไฟคือโทสะ ๓. ไฟคือโมหะ ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ ประการ (ขุ.อิติ.อ. ๙๒/๓๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๔. อัคคิสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ไฟคือราคะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้กำหนัด หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ไฟคือโทสะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้มีจิตพยาบาท ชอบฆ่าสัตว์ ไฟคือโมหะ ย่อมเผาผลาญนรชนผู้ลุ่มหลง ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ หมู่สัตว์ เมื่อไม่รู้จักไฟทั้ง ๓ กองนี้ จึงยินดียิ่งในสักกายะ๑- ไม่พ้นจากบ่วงแห่งมาร สั่งสมเพื่อเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย และแดนเปรต ส่วนชนทั้งหลายผู้หมั่นอบรมตนในศาสนธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน หมั่นเจริญอสุภสัญญาเป็นนิตย์ ย่อมทำไฟคือราคะให้ดับลงได้ ชนทั้งหลายที่มีคุณธรรมสูง ย่อมดับไฟคือโทสะลงได้ด้วยเมตตา และย่อมดับไฟคือโมหะด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายกิเลสได้เด็ดขาด ชนผู้มีปัญญารักษาตนเหล่านั้น ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ดับไฟทั้ง ๓ กองนั้นได้แล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น @เชิงอรรถ : @ ยินดียิ่งในสักกายะ หมายถึงเพลิดเพลินยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ @(ขุ.อิติ.อ. ๙๓/๓๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๕. อุปปริกขสูตร

บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นแจ้งอริยสัจ จบเวท รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ ย่อมไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เพราะรู้ยิ่งถึงภาวะที่สิ้นสุดการเกิด แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อัคคิสูตรที่ ๔ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๖๖-๔๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=12249&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=208              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6361&Z=6382&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=273              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=273&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=273&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]