ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒. อุสสังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่ รังเกียจสงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม๑- ก็ตาม ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีหญิงแพศยา๒- เป็นโคจร๓- ๒. เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร @เชิงอรรถ : @ ผู้มีอกุปปธรรม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖) @ หญิงแพศยา หมายถึงหญิงที่เลี้ยงชีพด้วยอาศัยเรือนร่างของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖) @ โคจร ในที่นี้หมายถึงการไปมาหาสู่บ่อยๆ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๓/๔๖) อีกนัยหยึ่ง หมายถึงสถานที่ @สำหรับเข้าไปเพื่อบิณฑบาต หรือเข้าไปเพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร หญิงเหล่านี้ ภิกษุไม่ควรเข้าไปหา @เพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร เพราะจะเป็นเหตุก่ออันตรายแก่สมณภาวะและก่อคำติเตียนแก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ได้ @(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๐๑-๑๐๔/๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร

๓. เป็นผู้มีสาวเทื้อ๑- เป็นโคจร ๔. เป็นผู้มีบัณเฑาะก์๒- เป็นโคจร ๕. เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจ สงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรมก็ตาม
อุสสังกิตสูตรที่ ๒ จบ
๓. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร๓-
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ มหาโจรในโลกนี้ ๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก ๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์ ๕. เที่ยวไปคนเดียว มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำ หรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจรอาศัยที่ขรุขระเป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ สาวเทื้อ หมายถึงสาวแก่ (มหลฺลิกกุมารี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖) @ บัณเฑาะก์ หมายถึงขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันกฤต แปลว่า กะเทย มี ๓ จำพวก คือ @บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๖/๔๓ @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๑/๒๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=5034&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=102              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2942&Z=2949&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=102              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=102&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=102&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]