ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน ดูกรภัททิยะ
ถ้าแม้พวกมหาศาลเหล่านี้ จะพึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศล
ธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข
แก่พวกมหาศาลเหล่านี้ตลอดกาลนาน ถ้ามหาศาลเหล่านี้พึงตั้งใจ จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า ฯ
             [๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะ
ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคผู้รู้
ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความ
หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน องค์ ๔
ประการเป็นไฉน คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีล ๑
จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑ ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ ความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ในสีลปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ นี้เรียกว่าองค์
เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตต-
*ปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน...
ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌานอยู่ นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความพอใจ...
สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้นอัน
ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้
ในฐานะนั้นๆ นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิ-
*ปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ...สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิ
อันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิ
ปาริสุทธิ ฯ
             ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติ-
*ปาริสุทธิเป็นไฉน อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ สีลปาริสุทธิ...จิตตปาริสุทธิ...ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว ย่อมคลายจิตในธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง ครั้นแล้วย่อมถูกต้อง
สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ ความพอใจ...สติและสัมปชัญญะในวิมุตติ
ปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ นี้เรียกว่า
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิ ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาค
ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อ
ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๕๒๓๗-๕๒๘๒. หน้าที่ ๒๒๔ - ๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=5237&Z=5282&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=21&item=194&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=136              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=191              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=21&item=194&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=21&item=194&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]