ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิบัต ”             ผลการค้นหาพบ  24  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 24
กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 24
คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 24
โคจรวิบัติ วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่
       เช่น ภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 24
ทิฏฐิวิบัติ วิบัตแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
       (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 24
ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 24
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
       หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย,
       ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม;
       ดู วุฑฒิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 24
ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ;
       บำรุง, เลี้ยงดู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 24
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ
       ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน,
       บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
       (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 24
ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 24
ปรหิตปฏิบัติ ดู ปรัตถปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 24
ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
       เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ
       มักเขียนเป็น ปรหิตปฏิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน;
       เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 24
ปริสวิบัติ เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัท
       หมายถึง เมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 24
มนุษยวิบัติ มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง เช่น คนที่ถูกตอน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 24
ลูขปฏิบัติ ประพฤติปอน,
       ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม
       (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 24
วัตตปฏิบัติ ดู วัตรปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 24
วัตถุวิบัติ วิบัติโดยวัตถุ
       คือ บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมเสีย ใช้ไม่ได้ เช่น ในการอุปสมบท
           ผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือ
           มีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือ
           เป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือ
           ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือ
           เป็นสตรี
       ดังนี้เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 24
วัตรปฏิบัติ การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 24
วิบัติ ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้
       1. วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล
           ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท
           ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย
           ๔. อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       2. วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี ๔ คือ
           ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต
           ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์
           ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น
           (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี);
       เทียบ สมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 24
ศีลวิบัติ ดู สีลวิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 24
สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติชอบธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ดำเนินในมรรคามีองค์ ๘ ประการ (ปฏิบัติตามมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 24
สีมาวิบัติ ความเสียโดยสีมา, เสียเพราะเขตชุมนุม (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์), สีมาใช้ไม่ได้ ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ ณ ที่นั้น วิบัติ คือเสียหรือใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) ไปด้วย,
       คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง เช่น
           ๑. สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด (เกิน ๓ โยชน์)
           ๒. สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน)
           ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด
           ๔. สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต
           ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต
           ฯลฯ,
       สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง จึงย่อมใช้ไม่ได้;
       ดู วิบัติ (ของสังฆกรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 24
สีลวิบัติ เสียศีล, สำหรับภิกษุ คือต้องอาบัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส
       (ข้อ ๑ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 24
อาจารวิบัติ เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย,
       ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อย ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต
       (ข้อ ๒ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 24
อาชีววิบัติ เสียอาชีวะ, ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ
       คือ ประกอบมิจฉาอาชีวะ มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น
       (ข้อ ๔ ในวิบัติ ๔)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิบัต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%BA%D1%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]