ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าบัต ”             ผลการค้นหาพบ  15  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 15
ครุกาบัติ อาบัติหนัก ได้แก่
       อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย และ
       อาบัติสังฆาทิเสส อยู่กรรมจึงจะพ้นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 15
ทุฏฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส
       แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 15
นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์
       เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ,
       พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้
       (ข้อ ๙ ใน อนุปุพพวิหาร ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 15
ปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดไว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 15
ปลงอาบัติ แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ,
       ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุอื่น,
       แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย,
       ใช้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้ คือ
           ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 15
ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ดู มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 15
ลหุกาบัติ อาบัติเบา คือ อาบัติที่มีโทษเล็กน้อย
       ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       คู่กับ ครุกาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 15
สภาคาบัติ ต้องอาบัติอย่างเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 15
สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
       สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
       สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
       ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 15
อนาบัติ ไม่เป็นอาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 15
อปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วไม่ได้ปิดไว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 15
อันตราบัติ อาบัติสังฆาทิเสส ที่ต้องใหม่อีกในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี คือตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 15
อาบัติ การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท;
       อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;
       อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง
       โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น
           ๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)
           ๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);
       คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ
           ๑. ทุฏฐลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ
           ๒. อทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ;
           ๑. อเทสนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง
           ๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือเปิดเผยความผิดของตน;
       คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ
           ๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)
           ๒. สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);
           ๑. อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ
           ๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;
           ๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือแก้ไขไม่ได้
           ๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 15
อาบัติชั่วหยาบ ในประโยคว่า “บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน”
       อาบัติปาราชิก และอาบัติสังฆาทิเสส;
       ดู ทุฏฐุลลาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 15
อาบัติที่เป็นโทษล่ำ อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าบัต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%BA%D1%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]