ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัณ ”             ผลการค้นหาพบ  73  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 73
กัณฐกะ ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 73
กัณฐชะ อักษรเกิดในคอ คือ อ อา ก ข ค ฆ ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 73
กัณฑ์ หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 73
กัณฑกสามเณร ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรม เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย
       เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 73
กัณฑ์เทศน์ ดู เครื่องกัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 73
กัณหปักข์, กัณหปักษ์ ฝ่ายดำ หมายถึง ข้างแรม;
       กาฬปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ ชุณหปักษ์ หรือ ศุกลปักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 73
กัปปิยภัณฑ์ ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ, สิ่งของที่สมควรแก่สมณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 73
กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม
       (ข้อ ๑ ในตัณหา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 73
ขัณฑ์ ตอน, ท่อน, ส่วน, ชิ้น, จีวรมีขัณฑ์ ๕ ก็คือมี ๕ ชิ้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 73
ขัณฑสีมา สีมาเล็กผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา มีสีมันตริกคั่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 73
ครุภัณฑ์ ของหนัก เช่น กุฎี ที่ดิน เตียง ตั่ง เป็นต้น;
       คู่กับ ลหุภัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 73
เครื่องกัณฑ์ สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์;
       กัณฑ์เทศน์ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 73
จัณฑปัชโชต พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 73
จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ
       เช่น บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียกว่า จัณฑาล
       ถือว่าเป็นคนต่ำทราม ถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 73
จุลคัณฐี ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 73
โจทนากัณฑ์ ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 73
ชตุกัณณีมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 73
ตัณหา ๑- ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ
       ๑. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
       ๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
       ๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 73
ตัณหา ๒- ธิดามารนางหนึ่งใน ๓ นาง ที่อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ
       (อีก ๒ นาง คือ อรดีกับราคา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 73
เตรสกัณฑ์ “กัณฑ์สิบสาม” ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบทบัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 73
ทัณฑกรรม การลงอาชญา, การลงโทษ;
       ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณรคล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุ ได้แก่ กักบริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 73
ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ
       หมายถึง การไล่ออกจากสำนัก
       เช่น ที่ทำแก่กัณฑกสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 73
ทัณฑปาณิ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระเชฏฐาของพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 73
นานาภัณฑะ ทรัพย์ต่างกัน คือหลายสิ่ง, ภัณฑะต่างๆ, สิ่งของต่างชนิดต่างประเภท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 73
นิคัณฐนาฏบุตร ดู นิครนถนาฏบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 73
นิสสัคคิยกัณฑ์ ตอน หรือ ส่วนอันว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 73
บริภัณฑ์ ดู สัตตบริภัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 73
บัณฑิต ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 73
บัณฑิตชาติ เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื้อนักปราชญ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 73
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       (อรรถกถาว่า สีแดง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 73
บัณเฑาะก์ [บันเดาะ] กะเทย,
       คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่
           กะเทยโดยกำเนิด ๑
           ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
           ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 73
บัณเฑาะว์ [บันเดาะ];
       1. กลองเล็กชนิดหนึ่งมีหนังสองหน้าตรงกลางคอด ริมทั้งสองใหญ่ พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ ขับโดยใช้ลูกตุ้มกระทบหน้ากลองทั้งสองข้าง;
       2. สีมามีสัณฐานดุจบัณเฑาะว์ คือมีลักษณะทรวดทรงเหมือนบัณเฑาะว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 73
บุพพสิกขาวัณณนา หนังสืออธิบายพระวินัย
       พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 73
บุพพัณณะ ของที่ควรกินก่อน ได้แก่ ข้าวทุกชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง เป็นต้น;
       เทียบ อปรัณณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 73
บุพพัณหสมัย เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 73
ปริภัณฑ์ ดู สัตตบริภัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 73
ปัณฑกะ บัณเฑาะก์, กะเทย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 73
ปัณฑุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในพวกภิกษุเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า ฉัพพัคคีย์
       (พระพวก ๖ ที่ชอบก่อเรื่องเสียหายทำให้พระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติสิกขาบทหลายข้อ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 73
ปัณฑุปลาส ใบไม้เหลือง (ใบไม้แก่);
       คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 73
ปัณณเภสัช พืชมีใบเป็นยา,
       ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 73
ปัณณัตติวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ
       คือ คนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน ใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่น เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 73
ปุพพัณณะ ดู บุพพัณณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 73
พรหมทัณฑ์ โทษอย่างสูง
       คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น,
       พระฉันนะซึ่งเป็นภิกษุเจ้าพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 73
พุทธาทิบัณฑิต บัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (พุทธ + อาทิ + บัณฑิต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 73
โพธิมัณฑะ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ, บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 73
ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป,
       ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ
       (ข้อ ๒ ในตัณหา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 73
ภัณฑไทย ของที่จะต้องให้ (คืน) แก่เขา, สินใช้, การที่จะต้องชดใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 73
ภัณฑาคาริก ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาเรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์, ผู้รักษาคลังสิ่งของ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 73
ภัณฑูกรรม ดู ภัณฑูกัมม์

ภัณฑูกัมม์ การปลงผม, การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้จะบวช
       ในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง เป็นอปโลกนกรรมอย่างหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 73
มหัคฆภัณฑ์ ของมีค่ามาก เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 73
มหาคัณฐี ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 73
ยศกากัณฑกบุตร พระเถระองค์สำคัญ ผู้ชักชวนให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี;
       เดิมชื่อยศ เป็นบุตรกากัณฑกพราหมณ์;
       ดู สังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 73
ราชทัณฑ์ โทษหลวง, อาญาหลวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 73
รูปตัณหา ความอยากในรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 73
ลหุภัณฑ์ ของเบา เช่น บิณฑบาต เภสัชและของใช้ประจำตัว มีเข็ม มีดพับ มีดโกน เป็นต้น;
       คู่กับ ครุภัณฑ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 73
วัณณกสิณ ๔ กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง
       คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว;
       ดู กสิณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 73
วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ คือหวงผิวพรรณ ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุณวัณณะ ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน
       (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 73
วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา,
       ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 73
สังฆาทิเสสกัณฑ์ ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส,
       ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วยสิกขาบท ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 73
สัณฐาน ทรวดทรง, ลักษณะ, รูปร่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 73
สัตตบรรณคูหา ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์
       เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนาครั้งแรก;
       เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 73
สัตตบริภัณฑ์ “เขาล้อมทั้งเจ็ด” คำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ หรือ สิเนรุ
       คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตก และอัสสกัณณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 73
สายัณห์ เวลาเย็น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 73
เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศใต้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 73
โสณกุฏิกัณณะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อกาฬี ซึ่งเป็นพระโสดาบัน
       เกิดที่บ้านเดิมของมารดาในเมืองราชคฤห์ แล้วกลับไปอยู่ในตระกูลบิดาที่แคว้นอวันตี ทักขิณาบถ
       พระมหากัจจายนะให้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วรอต่อมาอีก ๓ ปี เมื่อท่านหาภิกษุได้ครบ ๑๐ รูปแล้วจึงให้อุปสมบทเป็นภิกษุ บวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต
       ต่อมาท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เมืองสาวัตถี พร้อมทั้งนำความที่พระอุปัชฌาย์สั่งมา กราบทูลขอพระพุทธานุญาตพิเศษสำหรับปัจจันตชนบท เช่น ให้สงฆ์มีภิกษุ ๕ รูปให้อุปสมบทได้ ให้ใช้รองเท้าหนาหลายชั้นได้ ให้อาบน้ำได้ตลอดทุกเวลา เป็นต้น
       ท่านแสดงธรรมมีเสียงไพเราะแจ่มใสชัดเจน จึงได้รับย่องย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางกล่าวกัลยาณพจน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 73
โสณทัณฑพราหมณ์ พราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารให้ปกครองนครจัมปา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 73
โสณทัณฑสูตร สูตรที่ ๔ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่โสณทัณฑพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 73
อปรัณณะ ของที่ควรกินทีหลัง เช่น ถั่วและงา;
       เทียบ ปุพพัณณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 73
อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ
       ๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์
       ๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
       ๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 73
อัณฑชะ สัตว์เกิดในใข่ คือออกไข่เป็นฟองแล้วจึงฟักออกเป็นตัว เช่น ไก่ นก จิ้งจก เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในโยนิ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 73
อุปปลวัณณา ดู อุบลวรรณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 73
อุพภตกสัณฐาคาร ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา
       มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน
       ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 73
เอกภัณฑะ ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]