ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สข ”             ผลการค้นหาพบ  9  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 9
พระเสขะ ดู เสขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 9
สัมมัตตะ ความเป็นถูก,
       ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ
           ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
           ๑๐. สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ;
       เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐,
       ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 9
เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 9
เสขบุคคล บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่;
       ดู เสขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 9
เสขปฏิปทา ทางดำเนินของพระเสขะ, ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ จรณะ ๑๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 9
เสขภูมิ ภูมิของพระเสขะ, ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 9
เสขิยวัตร วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา,
       ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ
       มี ๗๕ สิกขาบท จำแนกเป็น
           สารูป ๒๖,
           โภชนปฏิสังยุต ๓๐,
           ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ และปกิรณะคือเบ็ดเตล็ด ๓,
       เป็นหมวดที่ ๗ แห่งสิกขาบท ในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ
       ท่านให้สามเณรถือปฏิบัติด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 9
อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
       คู่กับ เสขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 9
อเสขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา;
       ดู อเสขะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สข
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%A2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]