ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วน ”             ผลการค้นหาพบ  31  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 31
จิตตภาวนา ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 31
เชาวน์ ความนึกคิดที่แล่นไป, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, ไหวพริบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 31
ดาวนักษัตร ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ
       ๑. อัศวินี (ดาวม้า) มี ๗ ดวง
       ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง
       ๓. กฤติกา (ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง
       ๔. โรหิณี (ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง
       ๕. มฤคศิร (ดาวหัวเนื้อ) มี ๓ ดวง
       ๖. อารทรา (ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง
       ๗. ปุนัพสุ (ดาวสำเภาทอง) มี ๓ ดวง
       ๘. บุษย (ดาวสมอสำเภา) มี ๕ ดวง
       ๙. อาศเลษา (ดาวเรือน) มี ๕ ดวง
       ๑๐. มฆา (ดาวงูผ้า) มี ๕ ดวง
       ๑๑. บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง
       ๑๒. อุตรผลคุณี (ดาวเพดาน) มี ๒ ดวง
       ๑๓. หัสต (ดาวศอกคู้) มี ๕ ดวง
       ๑๔. จิตรา (ดาวตาจระเข้) มี ๑ ดวง
       ๑๕. สวาติ (ดาวช้างพัง) มี ๕ ดวง
       ๑๖. วิศาขา (ดาวคันฉัตร) มี ๕ ดวง
       ๑๗. อนุราธา (ดาวประจำฉัตร) มี ๔ ดวง
       ๑๘. เชษฐา (ดาวช้างใหญ่) มี ๑๔ ดวง
       ๑๙. มูลา (ดาวช้างน้อย) มี ๙ ดวง
       ๒๐. บุรพาษาฒ (ดาวสัปคับช้าง) มี ๓ ดวง
       ๒๑. อุตราษาฒ (ดาวแตรงอน) มี ๕ ดวง
       ๒๒. ศรวณะ (ดาวหลักชัย) มี ๓ ดวง
       ๒๓. ธนิษฐา (ดาวไซ) มี ๔ ดวง
       ๒๔. ศตภิษัช (ดาวพิมพ์ทอง) มี ๔ ดวง
       ๒๕. บุรพภัทรบท(ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง
       ๒๖. อุตรภัทรบท (ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง
       ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน) มี ๑๖ ดวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 31
ถ้วนทศมาศ ครบ ๑๐ เดือน (ในการตั้งครรภ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 31
ธรรมสวนะ การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียน อ่านและสดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ ที่ปราศจากโทษ;
       ธัมมัสสวนะ ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 31
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม, การสดับคำแนะนำสั่งสอน;
       ดู ธรรมสวนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 31
ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม (ข้อ ๘ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 31
ธัมมัสสวนานิสงส์ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม, ผลดีของการฟังธรรม, ประโยชน์ที่จะได้จากการฟังธรรม มี ๕ อย่างคือ
       ๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
       ๒. สิ่งที่เคยฟังก็เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น
       ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
       ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
       ๕. จิตของเขาย่อมผ่องใส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 31
นวนีตะ เนยข้น; ดู เบญจโครส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 31
บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 31
ปริเทวะ ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ

ปริเทวนาการ ดู ปริเทวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 31
ปัญญาภาวนา ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 31
ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ
       1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
           ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,
       อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ
           ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ
           ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์
       2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ
           ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน
           ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน
       3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 31
ภาวนาปธาน เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิด ให้มีขึ้น
       (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 31
ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา,
       ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น
           เมตตากรุณา (จิตตภาวนา) และ
           ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจ สิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง (ปัญญาภาวนา)
       ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 31
มโนภาวนีย์ ผู้เป็นที่เจริญใจ,
       ผู้ทำให้จิตใจของผู้นึกถึงเจริญงอกงาม หมายถึง บุคคลที่เมื่อเราจะระลึก คะนึง ใส่ใจถึง ก็ทำให้สบายใจ จิตใจสดชื่น ผ่องใส
       (ตามปกติ เป็นคุณสมบัติของพระภิกษุ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 31
เรวตขทิรวนิยะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี
       เป็นน้องชายคนสุดท้องของพระสารีบุตร บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ ๓ เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 31
วนปรัสถะ คำเพี้ยน; ดู วานปรัสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 31
วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา;
       ดู ภาวนา, วิปัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 31
สมถภาวนา การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ;
       ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 31
ส่วนข้างปลายทั้งสอง อดีต กับอนาคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 31
ส่วนท่ามกลาง ในประโยคว่า “ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง” ปัจจุบัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 31
สวนานุตตริยะ การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า
       (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 31
สัตวนิกาย หมู่สัตว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 31
สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม
       (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 31
สาวนะ, สาวนมาส เดือน ๙

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 31
อนุสาวนา คำสวดประกาศ, คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์, คำขอมติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 31
อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ ฝึกสมาธิถึงขั้นเป็นอัปปนา เป็นขั้นบรรลุปฐมฌาน
       (ข้อ ๓ ในภาวนา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 31
อิทธิบาทภาวนา การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 31
อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ
       (ข้อ ๒ ในภาวนา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 31
อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศ
       ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันแต่ต้นว่า จะทำเป็นกัปปิยกุฎี ในเวลาที่ทำ พอช่วยกันยกเสาหรือตั้งฝาทีแรก ก็ร้องประกาศให้รู้กันว่า
       “กปฺปิยกุฎึ กโรม” ๓ หน (แปลว่า “เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี”);
       ดู กัปปิยภูมิ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]