ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วจ ”             ผลการค้นหาพบ  16  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 16
กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 16
นิทานวจนะ คำแถลงเรื่องเดิม, บทนำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 16
พหุวจนะ ดู พหุพจน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 16
โยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร,
       ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
       เขียน โยคาพจร ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 16
รูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในรูปภพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 16
วจนะ คำพูด;
       สิ่งที่บ่งจำนวนนามทางไวยากรณ์ เช่น บาลีมี ๒ วจนะ คือ
           เอกวจนะ บ่งนามจำนวนเพียงหนึ่ง และ
           พหุวจนะ บ่งนามจำนวนตั้งแต่สองขึ้นไป
       ไวยากรณ์ปัจจุบันนิยมใช้ว่า พจน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 16
วจีกรรม การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด,
       ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ
       ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ;
       ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 16
วจีทวาร ทวารคือวาจา, ทางวาจา, ทางคำพูด (ข้อ ๒ ใน ทวาร ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 16
วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ
       ๑. มุสาวาท พูดเท็จ
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
       ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 16
วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ;
       เทียบ กายวิญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 16
วจีสมาจาร ความประพฤติทางวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 16
วจีสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม;
       ดู สังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 16
วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ
       เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ;
       ดู สุจริต; เทียบ วจีทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 16
โสวจัสสตา ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล
       (ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 16
อรูปาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ, ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 16
เอกวจนะ คำกล่าวถึงสิ่งของสิ่งเดียว


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วจ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%A8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]