ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ฤต ”             ผลการค้นหาพบ  9  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 9
น้ำอมฤต ดู อมฤต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 9
ประพฤติ ความเป็นไปที่เกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน;
       กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติ, ปฏิบัติตน, ดำเนินชีวิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 9
ประพฤติในคณะอันพร่อง เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ หมายถึงประพฤติมานัตในถิ่น เช่น อาวาสที่ปกตัตตภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือหย่อน ๔ รูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 9
มฤตยุราช ยมราช, พญายม, ความตาย
       (พจนานุกรมเขียน มฤตยูราช)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 9
สันสกฤต ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 9
สุรามฤต น้ำที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตายของเทวดา, น้ำอมฤตของเทวดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 9
อมฤต เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง;
       ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตามคติของศาสนาพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 9
อมฤตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย, ธรรมซึ่งเปรียบด้วยน้ำอมฤตอันทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงพระนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 9
อัพยากตะ, อัพยากฤต “ซึ่งท่านไม่พยากรณ์”,
       บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฤต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C4%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]