ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รจ ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
คันถรจนาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
ไตรจีวร จีวร ๓, ผ้า ๓ ผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ
       ๑. สังฆาฏิ ผ้าทาบ
       ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่า จีวร
       ๓. อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่า สบง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
บรรจบ ครบ, ถ้วน, จดกัน, ประสมเข้า, ติดต่อกัน, สมทบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
ปัจจัตถรณะ ผ้าปูนอน,
       บรรจถรณ์ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
ผ้าไตร, ผ้าไตรจีวร ดู ไตรจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ไตรจีวรอยู่กับตัว คืออยู่ในเขตที่ตัวอยู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
รจนา แต่ง, ประพันธ์ เช่น อาจารย์ผู้รจนาอรรถกถา คือผู้แต่งอรรถกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
อนาโรจนา “การไม่บอก” คือ ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์;
       เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส
       ผู้ประพฤติมานัตต์ ต้องบอกทุกวัน แต่ผู้อยู่ปริวาส ไม่ต้องบอกทุกวัน ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้น แต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้นๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้ว ออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไป เมื่อกลับมาใหม่ต้องได้รับบอกอีก;
       ดู รัตติเฉท


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รจ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C3%A8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]