ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ยก ”             ผลการค้นหาพบ  40  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 40
กัปปิยการก ผู้ทำของที่สมควรแก่สมณะ, ผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ, ลูกศิษย์พระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 40
กัปปิยกุฎี เรือนเก็บของที่เป็นกัปปิยะ;
       ดู กัปปิยภูมิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 40
กายกรรม การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 40
กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งนามกาย,
       ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้อยู่ในภาวะที่จะทำงานได้ดี
       (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 40
คัพภเสยยกสัตว์ สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ คือสัตว์ที่เกิดเป็นตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 40
ญัตติทุติยกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ,
       กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 40
ตัชชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่,
       สังฆกรรมประเภทนิคคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิโทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์ เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 40
ทายก (ชาย) ผู้ให้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 40
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น
       (ข้อ ๑ ใน กรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 40
นิตยกาล ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 40
นิสสัคคิยกัณฑ์ ตอน หรือ ส่วนอันว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 40
ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป
       หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นทายก อุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย;
       ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 40
ปริณายก ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 40
ปัพพาชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด,
       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่
           ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่
           ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑
       (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 40
ปาริเลยยกะ ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี;
       ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ;
       เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี
       ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 40
พินัยกรรม หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือหนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ,
       ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ไม่มีผล ต้องปลงบริขารจึงใช้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 40
มรรคนายก “ผู้นำทาง”,
       ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธี ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้นๆ,
       ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 40
โมริยกษัตริย์ กษัตริย์ผู้ครองเมืองปิปผลิวัน ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้แต่พระอังคารไปสร้างอังคารสตูป ที่เมืองของตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 40
ยกนะ [ยะ-กะ-นะ] ตับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 40
ยาวตติยกะ แปลว่า “ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์จบครั้งที่ ๓”
       หมายความว่า เมื่อภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบทเข้าแล้ว ยังไม่ต้องอาบัติ ต่อเมื่อสงฆ์สวดประกาศสมนุภาสน์หนที่ ๓ จบแล้ว จึงจะต้องอาบัตินั้น
       ได้แก่ สังฆาทิเสสข้อที่ ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓ และสิกขาบทที่ ๘ แห่งสัปปาณวรรคในปาจิตติยกัณฑ์;
       คู่กับ ปฐมาปัตติกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 40
ร้อยกรอง ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยถักเป็นตา เป็นผืนที่เรียกว่าตาข่าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 40
วินัยกถา คำพูดเกี่ยวกับพระวินัย, คำบรรยาย คำอธิบาย หรือเรื่องสนทนาเกี่ยวกับพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 40
วินัยกรรม การกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 40
ศากยกุมาร กุมารวงศ์ศากยะ, เจ้าชายวงศ์ศากยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 40
สมานาจริยกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 40
สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 40
สัมโมทนียกถา “ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ”, คำต้อนรับทักทาย, คำปราศรัย;
       ปัจจุบันนิยมเรียกสุนทรพจน์ที่พระสงฆ์กล่าวว่า สัมโมทนียกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 40
สายโยค สายโยก, สายรัด ใช้แก่ถุงต่างๆ เช่น ที่ประกอบกับถุงบาตร แปลกันว่า สายโยคบาตร (บาลีว่า อํสวทฺธก);
       บางแห่งแปล อาโยค คือผ้ารัดเข่า หรือ สายรัดเข่า ว่าสายโยค ก็มี แต่ในพระวินัยปิฎก ไม่แปลเช่นนั้น
       (พจนานุกรมเขียน สายโยก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 40
สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระ เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์
       (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 40
อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน,
       กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
           ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
           ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
           ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
           ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 40
อนุศาสน์ การสอน, คำชี้แจง;
       คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จ
       ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔
       นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เที่ยวบิณฑบาต
           ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
           ๓. อยู่โคนไม้
           ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
           (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ)
       อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่
           ๑. เสพเมถุน
           ๒. ลักของเขา
           ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุ หมายเอาฆ่ามนุษย์)
           ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 40
อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งให้ผลในภพต่อๆ ไป
       (ข้อ ๓ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 40
อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี;
       เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือพวกคนป่าคนดอย,
       พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือพวกที่เรียกว่า อารยัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 40
อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 40
อัยกะ, อัยกา ปู่, ตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 40
อัยการ เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักร จัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง, ทนายแผ่นดิน, ทนายหลวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 40
อัยกี, อัยยิกา ย่า, ยาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 40
อาทิพรหมจริยกาสิกขา หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติ หรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย,
       ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์;
       เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 40
อุกเขปนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย
       หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์
       คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย
       พูดง่ายๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 40
อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือ ในภพถัดไป
       (ข้อ ๒ ในกรรม ๑๒)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%A1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]