ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

โอกาส ช่อง, ที่ว่าง, ทาง,เวลาที่เหมาะ, จังหวะ;
       ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนาคือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย
       คำขอโอกาสว่า “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม”
       แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน”
       ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ
       คำให้โอกาส ท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”;
       ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ
           เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
           มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
           มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
           เป็นผู้เขลา
           ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบขอที่ซัก,
       องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า
           เป็นอลัชชี
           เป็นพาล
           มิใช่ปกตัตตะ
           กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด
           มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ บรรทัดที่ ๔๕๖๖ - ๔๕๖๖.
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=4566&Z=4566

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]