ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัง ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
[48] สังขาร 2 (สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย : conditioned things; compounded things)
       1. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม : karmically grasped phenomena)
       2. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อสังขตธาตุ คือนิพพาน : karmically ungrasped phenomena)

       ดู [22] ธรรม 2; [41] รูป 2; [119] สังขาร 3; [185] สังขาร 4 ด้วย

A.A.IV.50 องฺ.อ. 3/223;
วิภงฺค.อ. 596

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[49] สังคหะ 2 (การสงเคราะห์ — aid; giving of help or favors; act of aiding or supporting)
       1. อามิสสังคหะ (อามิสสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยอามิส : supporting with requisites; material aid)
       2. ธัมมสังคหะ (ธรรมสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยธรรม : aiding by teaching or showing truth; spiritual aid)

A.I.91. องฺ.ทุก. 20/393/115.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[117] สังขตลักษณะ 3 (ลักษณะแห่งสังขตธรรม คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น — characteristics of the conditioned; condition; condition-marks of the conditioned)
       1. อุปฺปาโท ปญฺญายติ (ความเกิดขึ้น ปรากฏ — Its arising is apparent.)
       2. วโย ปญฺญายติ (ความดับสลาย ปรากฏ — Its passing away or subsidence is apparent.)
       3. ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ (เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ — While persisting, alteration or changeability is apparent.)

A.I.152. องฺ.ติก. 20/486/192.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[118] อสังขตลักษณะ 3 (ลักษณะแห่งอสังขตธรรม — characteristics of the Unconditioned)
       1. น อุปฺปาโท ปญฺญายติ (ไม่ปรากฏความเกิด — No arising appears.)
       2. น วโย ปญฺญายติ (ไม่ปรากฏความสลาย — No passing away appears.)
       3. น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ (เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปร — While persisting, no alteration appears.)

A.I.152. องฺ.ติก. 20/487/192.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[119] สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง — formation; determination; function)
       1. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก — bodily formation; bodily function)
       2. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร — verbal formation; verbal function)
       3. จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญา และเวทนา — mental formation; mental function)

       สังขาร 3 ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ.

M.I.301;
S.IV.293.
ม.มู. 12/509/550;
สํ.สฬ. 18/561/361.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
[120] สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ, สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม — formation; determination; volition)
       1. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย — bodily formation; bodily volition)
       2. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา — verbal formation; verbal volition)
       3. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ — mental formation; mental volition)

       สังขาร 3 ในหมวดนี้ ได้ในความหมายของคำว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาท.

       ดู [129] อภิสังขาร 3; ดู [185] สังขาร 4 ด้วย.

M.I.54; 390;
S.II.4;
Vbh.135.
ม.มู. 12/127/99;
ม.ม. 13/88/83;
สํ.นิ. 16/16/14;
อภิ.วิ. 35/257/181.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
[129] อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)
       1. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)
       2. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)
       3. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)

       อภิสังขาร 3 นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร 3 ดู [120] สังขาร 3

Ps.II.206;
Vbh.135.
ขุ.ปฏิ. 31/280/181;
อภิ.วิ. 35/257/181.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[144] ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น - virtues conducive to benefits in the present; virtues leading to temporal welfare)
       1. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี - to be endowed with energy and industry; achievement of diligence)
       2. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย - to be endowed with watchfulness; achievement of protection)
       3. กัลยาณมิตตตา (คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา - good company; association with good people)
       4. สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ - balanced livelihood; living economically)

       ธรรมหมวดนี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ จึงมีประโยชน์ซ้ำซ้อนกันสองคำ)

A.IV.281. องฺ.อฏฺฐก. 23/144/289.

[***] เทวทูต 4 ดู [150] นิมิต 4.
[***] ธรรมมีอุปการะมาก 4 ดู [140] จักร 4.
[***] ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย 4 ดู [191] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[185] สังขาร 4 (คำว่าสังขารที่ใช้ในความหมายต่าง - applications of the word 'formation')
       1. สังขตสังขาร (สังขารคือสังขตธรรม ได้แก่สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้ในคำว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา เป็นต้น - formation consisting of the formed)
       2. อภิสังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น ได้แก่รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ในภูมิสาม ที่เกิดแต่กรรม - formation consisting of the karma-formed)
       3. อภิสังขรณกสังขาร (สังขารคือกรรมที่เป็นตัวการปรุงแต่ง ได้แก่ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาทั้งปวงในภูมิสาม ได้ในคำว่า 'สังขาร' ตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือ [120] สังขาร 3 หรือ [129] อภิสังขาร 3 - formation consisting in the act of karma-forming)
       4. ปโยคาภิสังขาร (สังขารคือการประกอบความเพียร ได้แก่กำลังความเพียรทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม - formation consisting in exertion or impetus)

Vism.527. วิสุทธิ. 3/120.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[186] สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)
       1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)
       2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)
       3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
       4. สมานัตตตา* (ความมีตนเสมอ** คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)
----------------------------------------------
* ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตของมหายานะ เป็น สมานารฺถตา = บาลี: สมานตฺถตา แปลว่า ความเป็นผู้มีจุดหมายร่วมกัน หรือความคำนึงประโยชน์อันร่วมกัน (having common aims; feeling of common good)
** คำแปลนี้ถือตามที่แปลกันมาเดิม แต่ตามคำอธิบายในคัมภีร์ น่าจะแปลว่า 'ความมีตนร่วม' (participation) โดยเฉพาะมุ่งเอาร่วมสุขร่วมทุกข์

       ดู [11] ทาน 2; [229] พละ 4.

D.III.152,232;
A.II.32,248;
A.IV.218.363.
ที.ปา. 11/140/167; 267/244;
องฺ.จตุกฺก. 21/32/42; 256/335;
องฺ.อฏฺฐก. 23/114/222;
องฺ.นวก. 23/209/377.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[187] สังคหวัตถุของผู้ครองแผ่นดิน หรือ ราชสังคหวัตถุ 4 (สังคหวัตถุของพระราชา, ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง -a ruler's bases of sympathy; royal acts of doing favors; virtues making for national integration)
       1. สัสสเมธะ (ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร - shrewdness in agricultural promotion)
       2. ปุริสเมธะ (ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ - shrewdness in the promotion and encouragement of government officials)
       3. สัมมาปาสะ (ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น - 'a bond to bind men's hearts'; act of doing a favor consisting in vocational promotion as in commercial investment)
       4. วาชเปยะ หรือ วาจาเปยยะ (ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ น้ำคำควรดื่ม คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย ไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี และความนิยมเชื่อถือ - affability in address; kindly and convincing speech)

       ราชสังคหวัตถุ 4 ประการนี้ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ส่วนที่แก้ไขปรับปรุงคำสอนในศาสนาพราหมณ์ โดยกล่าวถึงคำศัพท์เดียวกัน แต่ชี้ถึงความหมายอันชอบธรรมที่ต่างออกไป ธรรมหมวดนี้ ว่าโดยศัพท์ ตรงกับ มหายัญ 5 (the five great sacrifices) ของ พราหมณ์ คือ.-
       1. อัสสเมธะ (การฆ่าม้าบูชายัญ - horse-sacrifice)
       2. ปุริสเมธะ (การฆ่าคนบูชายัญ - human sacrifice)
       3. สัมมาปาสะ (ยัญอันสร้างแท่นบูชาไว้ที่ขว้างไม้ลอดบ่วงไปหล่นลง - peg-thrown site sacrifice)
       4. วาชเปยะ (การดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัย - drinking of strength or of victory)
       5. นิรัคคฬะ หรือ สรรพเมธะ (ยัญไม่มีลิ่มสลัก คือ ทั่วไปไม่มีขีดขั้นจำกัด, การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ - the bolts-withdrawn sacrifice; universal sacrifice)

       มหายัญ 5 ที่พระราชาพึงบูชาตามหลักศาสนาพราหมณ์นี้ พระพุทธศาสนาสอนว่า เดิมทีเดียวเป็นหลักการสงเคราะห์ที่ดีงาม แต่พราหมณ์สมัยหนึ่งดัดแปลงเป็นการบูชายัญเพื่อผลประโยชน์ในทางลาภสักการะแก่ตน ความหมายที่พึงต้องการ ซึ่งพระพุทธศาสนาสั่งสอน 4 ข้อแรก มีดังกล่าวแล้วข้างต้น ส่วนข้อที่ 5 ตามหลักสังคหวัตถุ 4 นี้ ว่าเป็นผล แปลว่า ไม่มีลิ่มกลอน หมายความว่า บ้านเมืองจะสงบสุขปราศจากโจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน

S.I.76;
A.II.42;
IV.151;
It.21;
Sn.303;
SA.I.145;
SnA.321.
สํ.ส. 15/351/110;
องฺ.จตุกฺก. 21/39/54;
องฺ.อฏฺฐก. 23/91/152;
ขุ.อิติ. 25/205/246;
ขุ.สุ. 25/323/383;
สํ.อ. 1/169;
อิติ.อ. 123.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[188] สังเวชนียสถาน 4 (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชม เพื่อเพิ่มพูนปสาทะ กระทำสักการบูชา อันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ - places apt to cause the feeling of urgency; places made sacred by the Buddha's association; places to be visited with reverence; the four Buddhist Holy Places)
       1. ชาตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี - birthplace of the Buddha)
       2. อภิสัมพุทธสถาน (ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา - place where the Buddha attained the Enlightenment)
       3. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ - place where the Buddha preached the First Sermon)
       4. ปรินิพพุตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา - place where the Buddha passed away into Parinibbana)

D.II.140. ที.ม. 10/131/163.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[191] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นสูงขึ้นไป - virtues conducive to benefits in the future; virtues leading to spiritual welfare)
       1. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา - to be endowed with faith; accomplishment of confidence)
       2. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล - to be endowed with morality; accomplishment of virtue)
       3. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ - to be endowd with generosity; accomplishment of charity)
       4. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา - to be endowed with wisdom; accomplishment of wisdom)

       ธรรมหมวดนี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า สัมปรายิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์ (อัตถะ ก็แปลว่า ประโยชน์ จึงเป็นคำซ้ำซ้อนกัน)

A.IV.284. องฺ.อฏฐก. 23/144/292.

[***] สัมมัปปธาน 4 ดู [156] ปธาน 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[193] โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, องค์ประกอบของการบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน - factors of Stream-Entry)
       1. สัปปุริสสังเสวะ (เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร - associateion with good and wise persons)
       2. สัทธัมมัสสวนะ (สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ - hearing the good teaching)
       3. โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี - analytical reflection; wise attention)
       4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน, ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์กับธรรมข้ออื่นๆ กลมกลืนกันในหลักใหญ่ที่เป็นระบบทั้งหมด, ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม - practice in accord with the Dhamma, i.e. in such a systematic way that all levels and aspects of the Dhamma are in accord as regards their respective purposes; living in conformity with the Dhamma)

       โสตาปัตติยังคะ 4 หมวดนี้ ตรงกับหลักที่เรียกว่า [***] ปัญญาวุฒิธรรม 4 หรือ [179] วุฒิธรรม 4
       ธรรม 4 ประการนี้ มิใช่เพียงเป็นโสตาปัตติยังคะ ที่จะให้บรรลุโสดาปัตติผล คือเป็นพระโสดาบันเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรม 4 ประการนี้ เมื่อเจริญ ปฏิบัติ ทำให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุอริยผลได้ทุกขั้นจนถึงอรหัตตผล (สํ.ม. 19/1634-1637/516-517 - S.V.411)

D.III.227;
S.V.347, 404.
ที.ปา. 11/240/239;
สํ.ม. 19/1428/434; 1620/509.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[194] โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน, คุณสมบัติของพระโสดาบัน - factors of Stream-Entry)
       1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า (unshakable confidence in the Buddha)
       2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม (unshakable confidence in the Dhamma)
       3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ (unshakable confidence in the Sangha)
       4. ประกอบด้วยอริยกันตศีล คือ ศีลอันเป็นที่ชื่นชมพอใจของพระอริยะ บริสุทธิ์ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิแปดเปื้อนหรือครอบงำ และเป็นไปเพื่อสมาธิ - unblemished morality)

S.V.345. สํ.ม. 19/1420/431

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[195] โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน, คุณสมบัติของพระโสดาบัน - factors of Stream-Entry)
       1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า (unshakable confidence in the Buddha)
       2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม (unshakable confidence in the Dhamma)
       3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์ (unshakable confidence in the Sangha)
       4. ครองเรือนด้วยใจปราศจากมัจฉริยะ ยินดีในการแจกจ่ายแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น - devotion to charity; delight in giving and sharing)

S.V.397. สํ.ม. 19/1597-1598/499

[***] หลักการแบ่งทรัพย์ 4 ส่วน ดู [163] โภควิภาค 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[230] พละ 5 ของพระมหากษัตริย์ (พลังของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่สามารถเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินได้ — strengths of a king)
       1. พาหาพลัง หรือ กายพลัง (กำลังแขน หรือกำลังกาย คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี สามารถและชำนาญในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ ตลอดจนมียุทโธปกรณ์พรั่งพร้อม — strength of arms)
       2. โภคพลัง (กำลังโภคสมบัติ คือ มีทุนทรัพย์บริบูรณ์ พร้อมที่จะใช้บำรุงเลี้ยงคนและดำเนินกิจการได้ไม่ติดขัด — strength of wealth)
       3. อมัจจพลัง (กำลังอมาตย์ หรือกำลังข้าราชการ คือ มีที่ปรึกษาและข้าราชการ ระดับบริหารที่ทรงคุณวุฒิเก่งกล้าสามารถ และจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน — strength of counsellors or ministers)
       4. อภิชัจจพลัง (กำลังความมีชาติสูง คือ กำเนิดในตระกูลสูง เป็นขัตติยชาติ ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชน และได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีตามประเพณีแห่งชาติตระกูลนั้น — strength of high birth)
       5. ปัญญาพลัง (กำลังปัญญา คือ ทรงปรีชาญาณ หยั่งรู้เหตุผล ผิดชอบ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ทั้งภายในภายนอก และดำริการต่างๆ ให้ได้ผลเป็นอย่างดี — strength of wisdom)

       กำลังแขน หรือกำลังกาย แม้จะสำคัญ แต่ท่านจัดว่าต่ำสุด หากไม่มีพลังอื่นควบคุมค้ำจุน อาจกลายเป็นกำลังอันธพาล ส่วนกำลังปัญญา ท่านจัดว่าเป็นกำลังอันประเสริฐ เป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง เพราะเป็นเครื่องกำกับ ควบคุม และนำทางกำลังอื่นทุกอย่าง

J.V.120 ขุ.ชา. 27/2444/532;
ชา.อ. 7/348.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
[243] สังวร 5 (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล — restraint)
       สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล — virtue as restraint) ได้แก่ สังวร 5 อย่าง คือ
       1. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์ — restraint by the monastic code of discipline)
       2. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น — restraint by mind—fulness) = อินทรียสังวร
       3. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ — restraint by knowledge) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์
       4. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ — restraint by patience)
       5. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ — restraint by energy) = อาชีวปาริสุทธิ.

       ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น 2 คือ สังวรวินัย กับ ปหานวินัย และจำแนกสังวรวินัยเป็น 5 มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ 1 เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9; สงฺคณี.อ. 505; SnA.8; DhsA.351)

Vism.7;
PsA.14,447;
VbhA.330.
วิสุทฺธิ. 1/8;
ปฏิสํ.อ. 16;
วิภงฺค.อ. 429

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[283] เมถุนสังโยค 7 (อาการที่เกี่ยวข้องกับเมถุน หรือนับเนื่องในเมถุน, ความประพฤติพัวพันกับเมถุน, เครื่องผูกมัดไว้กับเมถุน — bonds of sexuality; sex-bonds which cause the renting or blotching of the life of chastity despite no actual sexual intercourse)
       สมณะ ก็ดี พราหมณ์ ก็ดี บางคน ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี เขามิได้ร่วมประเวณีกับมาตุคามก็จริง แต่ยังยินดี ปลาบปลื้ม ชื่นใจ ด้วยเมถุนสังโยค 7 อย่างใดอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ของผู้นั้นยังชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ กล่าวคือ
       1. ยินดีการลูบไล้ ขัดสี ให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น (enjoyment of massage, manipulation, bathing and rubbing down by woman)
       2. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอก กับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการกระทำอย่างนั้น (enjoyment of joking, jesting and making merry with women)
       3. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังเพ่งจ้องดูตากับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการทำอย่างนั้น (enjoyment of gazing and staring at women eye to eye)
       4. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังชอบฟังเสียงมาตุคามหัวเราะ ขับร้อง หรือร้องให้อยู่ ข้างนอกฝา นอกกำแพง แล้วปลื้มใจ (enjoyment of listening to women as they laugh, talk, sing or weep beyond a wall or a fence)
       5. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ยังชอบตามนึกถึงการเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ (enjoyment of recalling the laughs, talks and jests one formerly had with women)
       6. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ชอบดูคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง 5 บำรุงบำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ (enjoyment of seeing a householder or a householder’s son indulging in sensual pleasures)
       7. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง (leading the life of chastity aspiring to be reborn as a god or a deity)

A.IV.54 องฺ.สตฺตก. 23/47/56

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ัง&nextseek=302
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D1%A7&nextseek=302


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]