ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๒๔๔๔] 	กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการ
                          นั้น กำลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
                          เจริญพระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๒. กำลัง
                          อำมาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๓ กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็น
                          กำลังที่ ๔ โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้ได้. กำลังปัญญา
                          บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะ
                          ว่าบัณฑิตอันกำลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ความเจริญ. ถ้าบุคคลมี
                          ปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อเขาไม่ปรารถนา คนอื่นผู้ถึง
                          พร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย. ข้าแต่พระจอมแห่งชน
                          ชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่
                          มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่. ปัญญาเป็นเครื่อง
                          วินิจฉัยข้อความที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณ
                          และชื่อเสียง คนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น
                          ก็ย่อมได้รับสุข. ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็นพหูสูต ผู้ตั้ง
                          อยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ได้บรรลุปัญญาแล อนึ่ง ผู้ใดรู้
                          จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล
                          ผลการงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีล
                          มิใช่บ่อเกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด (ลาภยศสุข) ผู้มีปกติเบื่อหน่าย
                          ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ. ส่วนประโยชน์แห่งการงานของ
                          บุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิดอย่างนั้น
                          ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ. ข้าแต่พระบิดา
                          ขอพระองค์ทรงเสวนะปัญญา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร
                          เป็นเครื่องตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุ ๒ ประการข้างต้นที่
                          ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้ทรงทำลายทรัพย์เสียด้วยการ
                          งานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่
                          สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๙-๑๐๑๖๔ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=10139&Z=10164&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2444&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=2444&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=2444&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=2444&items=1              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2444              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]