ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รณ ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
[116] สรณะ 3 หรือ ไตรสรณะ (ที่พึ่ง, ที่ระลึก — the Threefold Refuge; Three Refuges; Threefold Guide) หมายถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ดู [100] รัตนตรัย
       การน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้น เข้าใจความหมายอย่างถูกต้อง และยึดถือเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติหรือเป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต เรียกว่า สรณคมน์ ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์.

Kh.I. ขุ.ขุ. 25/1/1.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
[173] วรรณะ 4 (ชนชั้นในสังคมอินเดีย ที่กำหนดด้วยชาติกำเนิด ตามหลักศาสนาพราหมณ์ - castes)
       1. กษัตริย์ (ชนชั้นเจ้า, ชนชั้นปกครองหรือนักรบ - the warrior-caste; warrior-rulers; noblemen)
       2. พราหมณ์ (ชนชั้นเจ้าตำราเจ้าพิธี, พวกพราหมณ์ - the priestly caste; brahmins)
       3. แพศย์ (ชนชั้นพ่อค้าและกสิกร - the trading and agricultural caste; merchants and farmers)
       4. ศูทร (ชนชั้นต่ำ, พวกทาสกรรมกร - the low caste; laborers and servants)

M.II.128. ม.ม. 13/576/520.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
[225] นิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.)
       1. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire)
       2. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill)
       3. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor)
       4. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety)
       5. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty)

A.III.62;
Vbh.278.
องฺ.ปญฺจก. 22/51/72;
อภิ.วิ. 35/983/510.

[***] เบญจธรรม ดู [239] ศีล 5
[***] เบญจศีล ดู [238] ศีล 5
[***] ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ 5 ดู [232] โภคอาทิยะ 5
[***] ปหาน 5 (การละกิเลส — abandonment) ดู [224] นิโรธ 5
[***] ปัญจกัชฌาน ดู [9] ฌาน 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
[237] เวสารัชชกรณธรรม 5 (ธรรมทำความกล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า — qualities making for intrepidity)
       1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — faith; confidence)
       2. ศีล (ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม — good conduct; morality)
       3. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning)
       4. วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง — exertion; energy)
       5. ปัญญา (ความรอบรู้ เข้าใจซึ้งในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้ที่จะจัดการ — wisdom; understanding)

A.III.127 องฺ.ปญฺจก. 22/101/144

[***] โวสสัคคะ 5 ดู [224] นิโรธ 5.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
[248] ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ 10 (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ — ideas to be constantly reviewed by a monk; facts which the monk should again and contemplate)
       บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า (เติมลงหน้าข้อความทุกข้อ)
       1. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว (I have come to a status different from that of a layman.)
๑. ในนวโกวาท มีต่อว่า “อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ”

           ข้อนี้บาลีว่า “เววณฺณิยมฺหิ อชฺฌูปคโต” ในที่นี้แปล เววณฺณิย ว่า ความมีเพศต่าง (จากคฤหัสถ์) แต่หลายท่าน แปลว่า ความปราศจากวรรณะ (casteless state) คือเป็นคนนอกระบบชนชั้น หรือ หมดวรรณะ คือ หมดฐานะในสังคม หรือเป็นคนนอกสังคม (outcast) ความต่าง หรือปราศจาก หรือหมดไปนี้ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นไปในสองทาง คือ ทางสรีระ เพราะปลงผมและหนวดแล้ว และทางบริขาร คือเครื่องใช้ เพราะแต่ก่อนครั้งเป็นคฤหัสถ์ เคยใช้ผ้าดีๆ รับประทานอาหารรสเลิศในภาชนะเงินทอง เป็นต้น ครั้งบวชแล้ว ก็นุ่งห่มผ้าย้อมฝาดฉันอาหาร คลุกเคล้าในบาตรเหล็กบาตรดิน ปูหญ้านอนต่างเตียง เป็นต้น
           ส่วนวัตถุประสงค์แห่งการพิจารณาธรรมข้อนี้ อรรถกถาแก้ว่า จะละความกำเริบใจ (ความจู้จี้เง้างอน) และมานะ (ความถือตัว) เสียได้.
       2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น (คือต้องอาศัยผู้อื่น — My livelihood is bound up with other.)
๒. ในนวโกวาท มีต่อว่า “เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย”

           วัตถุประสงค์ ตามอรรถกถาแก้ว่า เพื่อให้อิริยาบถเรียบร้อยเหมาะสม มีอาชีวะบริสุทธิ์ เคารพในบิณฑบาต และบริโภคปัจจัยสี่ด้วยใส่ใจพิจารณา
       3. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ (I have a different way to behave.)
๓. ในนวโกวาท ทรงเรียงเป็นข้อความใหม่ว่า “อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้” จะเห็นว่า ข้อ 1 กับข้อ 3 ทรงตีความต่างออกไป ถ้าแปลตามนัยอรรถกถา ข้อ 1 จะได้ว่า “เราเป็นผู้หมดวรรณะ คือไม่มีฐานะในสังคมแล้ว จะต้องไม่มีความกระด้างถือตัวใดๆ” ข้อ 3 จะได้ว่า “เราจะต้องมีอาการกิริยาต่างจากคฤหัสถ์ สำรวมให้เหมาะกับความเป็นสมณะ” (องฺ.อ. 3/395)

           อรรถกถาอธิบายว่า เราควรทำอากัปป์ (คือกิริยามารยาท) ที่ต่างจากของคฤหัสถ์ เช่น มีอินทรีย์สงบ ก้าวเดินสม่ำเสมอ เป็นต้น และแสดงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อให้มีอิริยาบถเรียบร้อยเหมาะสม บำเพ็ญไตรสิกขาได้บริบูรณ์
       4. ตัวเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ (Does my not reproach me on my virtue’s account ?)
           ข้อนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหิริพรั่งพร้อมอยู่ในใจ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
       5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ (Do my discerning fellows in the holy life, on considering me, not reproach me on my virtue’s account ?)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ดำรงโอตตัปปะในภายนอกไว้ได้ ช่วยให้มีสังวรทางไตรทวาร
       6. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น (There will be division and separation from all that are dear to me and beloved.)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาท และเป็นอันได้ตั้งมรณสติไปด้วย
       7. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น (I am owner of my deed, whatever deed I do, whether good or bad, I shall become heir to it.)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้กระทำความชั่ว
       8. วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่ (How has my passing of the nights and days been ?)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความไม่ประมาทให้บริบูรณ์
       9. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ (Do I delight in a solitary place or not?)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกายวิเวกให้บริบูรณ์
       10. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้ว มีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง (Have I developed any extraordinary qualities whereon when questioned in my latter days by my fellows in the holy life I shall not be confounded ?)
           ข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้เป็นผู้ตายเปล่า

A.V.87;
Netti. 185.
องฺ.ทสก. 24/48/97;
องฺ.อ. 3/395.

[***] อรหันต์ 5 ดู [62] อรหันต์ 5.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
[273] สารณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน — states of conciliation; virtues for fraternal living) สาราณียธรรม ก็ใช้
       1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private)
       2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in private)
       3. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — to be amiable in thought, openly and in private)
       4. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน — to share any lawful gains with virtuous fellows) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้
       5. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ — to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private)
       6. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา — to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private)

       ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณคือ เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง — making others to keep one in mind) เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก — endearing) เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ — bringing respect) เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน — conducing to sympathy or solidarity) เพื่อ ความไม่วิวาท (to non—quarrel) เพื่อ ความสามัคคี (to concord; harmony) และ เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน — to unity)

D.III.245;
A.III.288-9
ที.ปา. 11/317/257;
องฺ.ฉกก. 22/282-283/321-323.

[***] อนุตตริยะ 6 ดู [127] อนุตตริยะ 6
[***] อบายมุข 6 ดู [200] อบายมุข 6.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
[324] นาถกรณธรรม 10 (ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ — virtues which make for protection)
       1. ศีล (ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย มีอาชีวะบริสุทธิ์ — good conduct; keeping moral habits)
       2. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง — great learning)
       3. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, การคบคนดี ได้ที่ปรึกษา และผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี — good company; association with good people)
       4. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล — amenability to correction; meekness; easy admonishability)
       5. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อย — willingness to give a helping hand; diligence and skill in managing all affairs of one’s fellows in the community)
       6. ธัมมกามตา (ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป — love of truth; to the Doctrine, be pleasant to consult and converse with and rejoice in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)
       7. วิริยารัมภะ (ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดีมีใจแกล้วกล้า บากบั่นก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ — energy; effort; energetic exertion)
       8. สันตุฏฐี (ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย 4 ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน — contentment)
       9. สติ (ความมีสติ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้ได้ ไม่มีความประมาท — mindfulness; ability to remember what one has done and spoken)
       10. ปัญญา (ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight)

       นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์

D.III.266, 290;
A.V.23
ที.ปา. 11/357/281; 466/334;
องฺ.ทสก. 24/17/25.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
[344] จรณะ 15 (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน — conduct; course of practice)
       1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — accomplishment of morals)
       2. อปัณณกปฏิปทา 3 ดู [128] อปัณณกปฏิปทา 3
       3. สัทธรรม 7 ดู [301] สัปปุริสธรรม 8 ข้อ 1.
       4. ฌาน 4 ดู [9] ฌาน 4

       ในบาลีที่มา ท่านเรียกว่า เป็น เสขปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ (a learner’s course of practice)

M.1.354 ม.ม. 13/26/26


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รณ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C3%B3


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]