ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[232] โภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์ — uses of possessions; benefits one should get from wealth; reasons for earning and having wealth)
       อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว
       1. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข (to make oneself, one’s parents, children, wife, servants and workmen happy and live in comfort)
       2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข (to share this happiness and comfort with one’s friends)
       3. ใช้ป้องกันภยันตราย (to make oneself secure against all misfortunes)
       4. ทำพลี 5 อย่าง (to make the fivefold offering)
           ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ (to relatives, by giving help to them)
           ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก (to guests, by receiving them)
           ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ (to the departed, by dedicating merit to them)
           ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากรเป็นต้น (to the king, i.e., to the government, by paying taxes and duties and so on)
           จ. เทวตาพลี ถวายเทวดา* คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชา ตามความเชื่อถือ (to the deities, i.e., those beings who are worshipped according to one’s faith)
* ในจูฬนิทเทส ท่านอธิบายความหมายของ “เทวดา” ไว้ว่า ได้แก่สิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณย์ของตนๆ
(เย เยสํ ทกฺขิเณยฺยา, เต เตสํ เทวตา -- พวกไหนนับถือสิ่งใดเป็นทักขิไณย์ สิ่งนั้นก็เป็นเทวดาของพวกนั้น) และแสดงตัวอย่างไว้ตามความเชื่อถือของคนสมัยพุทธกาล ประมวลได้เป็น 5 ประเภท คือ

       1. นักบวช นักพรต (ascetics) เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครณถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนต์เป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ
       2. สัตว์เลี้ยง (domestic animals) เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ
       3. ธรรมชาติ (physical forces and elements) เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ
       4. เทพชั้นต่ำ (lower gods) เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ (พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้)
       5. เทพชั้นสูง (high gods) เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น

       สำหรับชนที่ยังมีความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนเปลี่ยนแปลงเพียงให้เลิกเซ่นสรวงสังเวยเอาชีวิตบูชายัญ หันมาบูชายัญชนิดใหม่ คือบริจาคทานและบำเพ็ญกุศลกรรมต่างๆ อุทิศไปให้แทน คือมุ่งที่วิธีการอันจะให้สำเร็จประโยชน์ก่อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือเป็นเรื่องของการแก้ไขทางสติปัญญา ซึ่งประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะนักบวชในประเภทที่ 1 แม้สาวกใดจะเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้อุปถัมภ์บำรุงนักบวชนั้นต่อไปตามเดิม

       ดู “Devata” ใน P.T.S. Dict., P.165 ด้วย

Ndii 308ขุ.จู. 30/120/45.

       5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ (to support those monks and spiritual teachers who lead a pure and spiritual teachers who lead a pure and diligent life)

       เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.

A.III.45 องฺ.ปญฺจก. 22/41/48.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=232

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]