ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 496อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 497อ่านอรรถกถา 20 / 498อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๑
๗. ชัปปสูตร

               อรรถกถาชัปปสูตรที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในชัปปสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า มหปฺผลํ แปลว่า มีผลมาก.
               ในบทว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
               ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ชื่อว่าพระธรรม. การตรัสทบทวนซึ่งข้อความที่ตรัสแล้ว ชื่อว่าอนุธรรม.
               บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ พร้อมด้วยการณ์ พร้อมด้วยเหตุ. การถือตาม คือการคล้อยตาม. อธิบายว่า การประพฤติตามถ้อยคำ ชื่อว่าวาทานุปาตะ.
               บทว่า คารยฺหํ ฐานํ ได้แก่เหตุที่ควรตำหนิ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า การคล้อยตามถ้อยคำที่มีเหตุผลอันพระโคดมผู้เจริญตรัสไว้แล้ว ไม่น่าจะถึงเหตุที่ควรตำหนิไรๆ เลย.
               อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ถามว่า การคล้อยตามพฤติการณ์ของวาทะที่มีเหตุ ซึ่งคนเหล่านั้นกล่าวแล้ว จะถึงเหตุที่น่าตำหนิอะไรๆ ไหม.
               บทว่า อนฺตรายกโร โหติ ความว่า กระทำอันตราย คือความพินาศ คือให้ได้รับความลำบาก ได้แก่ให้เกิดความเดือดร้อน.
               บทว่า ปาริปนฺถิโก ได้แก่ โจรที่ดักจี้ปล้นคนเดินทาง.
               บทว่า ขโต จ โหติ ได้แก่ ถูกขุด โดยขุดความดีทิ้งไป.
               บทว่า อุปหโต ได้แก่ ถูกขจัดโดยการทำลายคุณงามความดี.
               บทว่า จนฺทนิกาย ได้แก่ ในบ่อน้ำโคลนที่ไม่สะอาด.
               บทว่า โอฬิคลฺเล ได้แก่ (ท่อ) ที่ยังไม่ได้ล้างโคลน.
               บทว่า โส จ ได้แก่ พระขีณาสพที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้มีศีลนั้น.
               บทว่า สีลกฺขนฺเธน แปลว่า ด้วยกองศีล.
               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               ก็ปัจจเวกขณญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าวิมุตติญาณทัสสนะ ในคำว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนกฺขนฺเธน นี้. ปัจจเวกขณญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอเสขะ เพราะเป็นไปแล้วแก่พระอเสขะ. ญาณนอกนี้ แม้ตัวเองก็เป็นอเสกขะอยู่แล้ว เพราะบรรลุแล้วในที่สุดแห่งสิกขา. อีกทั้งญาณเหล่านั้นก็เป็นโลกุตระ ปัจจเวกขณญาณเป็นโลกิยะ.
               บทว่า โรหิณึสุ ได้แก่ มีสีแดง.
               บทว่า สรูปาสุ ได้แก่ มีสีเสมอด้วยลูกโคของตน.
               บทว่า ปเรวตาสุ ได้แก่ มีสีเหมือนนกพิราบ.
               บทว่า ทนฺโต ได้แก่ หมดพยศแล้ว. โคตัวผู้ ชื่อว่า ปุงฺคโว.
               บทว่า โธรยฺโห ได้แก่ โคใช้งาน.
               บทว่า กลฺยาณชวนิกฺกโม ได้แก่ ประกอบด้วยเชาว์ไวไหวพริบดี คือซื่อตรง.
               บทว่า นาสฺส วณฺณํ ปริกฺขเร ความว่า ไม่สนใจถึงสีร่างกายของโคนั้น แต่สนใจเฉพาะงาน คือการประกอบธุระของมันเท่านั้น.
               บทว่า ยสฺมึ กิสฺมิญฺจิ ชาติเย ความว่า เกิดแล้วในตระกูลใดๆ
               บทว่า ยาสุ กาสุจิปิ เอตาสุ ได้แก่ ในกำเนิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แยกประเภทเป็นกษัตริย์เป็นต้นเหล่านี้.
               บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ความว่า ประกอบด้วยการอยู่จบพรหมจรรย์.
               อธิบายว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์. เพราะว่า พระขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.
               บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ วางภาระแล้ว. อธิบายว่า วางภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส และภาระคือกามคุณลงได้แล้ว.
               บทว่า กตกิจฺโจ คือ กระทำกิจด้วยมรรคทั้ง ๔ เสร็จแล้ว.
               บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมานํ ความว่า เบญจขันธ์ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ตรัสเรียกว่าสรรพธรรม.
               ชื่อว่าปารคู เพราะถึงฝั่ง ๖ อย่าง คือ ฝั่งคืออภิญญา ๑ ฝั่งคือปหานะ ๑ ฝั่งคือฌาน ๑ ฝั่งคือภาวนา ๑ ฝั่งคือสัจฉิกิริยา ๑ ฝั่งคือสมาบัติ ๑ แห่งสรรพธรรมนั้น.
               ปารคู สพฺพธมฺมานนฺติ สพฺพธมฺมา วุจฺจนฺติ ปญฺจกฺขนฺธา ทฺวาทสายตนานิ อฏฺฐารส ธาตุโย เตสํ สพฺพธมฺมาน อภิญฺญาปารํ ปริญฺญาปารํ ปหานปารํ ภาวนาปารํ สจฺฉิกิริยาปารํ สมาปตฺติปารญฺจาติ ฉพฺพิธํ ปารํ คตตฺตา ปารคู ฯ
               บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือ.
               บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ เว้นจากความเร่าร้อนเพราะกิเลส.
               บทว่า วิรเช ได้แก่ เว้นจากธุลี คือราคะโทสะและโมหะ.
               บทว่า อวิชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักบุญเขต.
               บทว่า ทุมฺเมธา ได้แก่ ไม่มีปัญญา.
               บทว่า อสฺสุตาวิโน ได้แก่ เว้นจากการได้ยินข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับบุญเขต.
               บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากพระศาสนานี้.
               บทว่า น หิ สนฺเต อุปาสเร ความว่า ไม่เข้าไปหาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้เป็นบุรุษสูงสุด.
               บทว่า ธีรสมฺมเต ได้แก่ บัณฑิตยกย่องแล้ว ชมเชยแล้ว.
               ด้วยบทว่า มูลชาตา ปติฏฺฐิตา นี้ ทรงแสดงถึงศรัทธาของพระโสดาบัน.
               บทว่า กุเล วา อิธ ชายเร ความว่า หรือเกิดในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ในมนุษย์โลกนี้. บุคคลนี้นี่แหละชื่อว่ามีกุลสมบัติ ๓ ประการ.
               บทว่า อนุปุพฺเพน นิพฺพานํ อธิคจฺฉนฺติ ความว่า บำเพ็ญคุณธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้สมบูรณ์แล้วบรรลุพระนิพพาน ตามลำดับฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาชัปปสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๑ ๗. ชัปปสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 496อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 497อ่านอรรถกถา 20 / 498อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=4227&Z=4284
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3643
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3643
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :