ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 193อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 194อ่านอรรถกถา 17 / 198อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔
ติสสสูตร ว่าด้วยปัจจัยให้เกิดและไม่ให้เกิดโสกะ

               อรรถกถาติสสสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในติสสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

               พระติสสเถระ               
               บทว่า มธุรกชาโต วิย ความว่า (ร่างกายของผม) ไม่เหมาะแก่การงาน (ไม่คล่องตัว) เหมือนเกิดมีภาระหนัก.
               บทว่า ทิสาปิ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ คือไม่แจ่มแจ้งแก่ผมอย่างนี้ว่า นี้ทิศตะวันออก นี้ทิศใต้.
               บทว่า ธมฺมาปิ มํ น ปฏิภนฺติ ความว่า ท่านพระติสสะกล่าวว่า แม้ปริยัติธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ผม สิ่งที่เรียนได้แล้ว สาธยายได้แล้ว ก็ไม่ปรากฏ (ลืมหมด).
               บทว่า วิจิกิจฺฉา ความว่า ไม่ใช่วิจิกิจฉา (ความสงสัย) อย่างสำคัญ เนื่องจากว่า ท่านไม่เกิดความสงสัยว่า "ศาสนานำสัตว์ออกจากทุกข์ได้หรือไม่หนอ" แต่ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า "เราจักสามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้หรือหนอ หรือจักทำได้แต่เพียงครองบาตรและจีวรเท่านั้น" (ปาฐะว่า ปตฺตจีวรํ ธรายนมตฺตเมว เชิงอรรถเป็น ปตฺตจีวรธารณมตฺตเมว แปลตามเชิงอรรถ)

               กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย               
               บทว่า กามานเมตํ อธิวจนํ ความว่า เมื่อบุคคลมองดูสระน้อยที่ลาดลุ่ม มีแต่เพียงน่าดู น่ารื่นรมย์ แต่ (ถ้า) บุคคลใดลงไปในสระน้อยที่ลาดลุ่มนี้ สระนั้นก็จะฉุดลากผู้นั้นให้ถึงความพินาศ (ปาฐะว่า ปาเปนฺติ เชิงอรรถและฉบับพม่าเป็น ปาเปติ แปลตามนัยหลัง.) เพราะสระน้อยนั้นมีปลาดุชุกชุมฉันใด ในกามคุณ ๕ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น (ปาฐะว่า จกฺขุทฺวาราทีนิ ฉบับพม่าเป็น จกฺขุทฺวาราทีนํ แปลตามฉบับพม่า.) มีแต่เพียงความน่ารื่นรมย์ ในเพราะ (เห็น) อารมณ์ (เป็นต้น) แต่ (ถ้า) บุคคลใดติดใจในกามคุณ ๕ นี้ มันก็จะลากจูงบุคคลนั้นไปยัดใส่ในทุคคติภูมิ มีนรกเป็นต้น นั่นแล. เพราะว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามเหล่านี้มีโทษยิ่งๆ ขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า กามานเมตํ อธิวจนํ.
               บทว่า อหมนุคฺคเหน ความว่า เราตถาคตจะอนุเคราะห์ด้วยการอนุเคราะห์ด้วยธรรมและอามิส.
               บทว่า อภินนฺทิ คือ รับเอา และไม่ใช่แค่รับเอาอย่างเดียว (เท่านั้น) ยังชื่นชมด้วย.
               ก็ท่านพระติสสะได้รับการปลอบใจจากสำนักพระศาสดานี้แล้ว พากเพียรพยายามอยู่ไม่กี่วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.

               จบอรรถกถาติสสสูตรที่ ๒               
               ------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ ติสสสูตร ว่าด้วยปัจจัยให้เกิดและไม่ให้เกิดโสกะ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 193อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 194อ่านอรรถกถา 17 / 198อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2384&Z=2446
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7459
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7459
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :