ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยศีลและวัตร
[๙๑๘] คำว่า พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร? ความว่า พระเถระย่อมทูลถามถึง ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ประกอบด้วยศีลและวัตรอย่างไร คือ ด้วยศีล และวัตรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร. ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นไฉน? บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร บางแห่งเป็น วัตรแต่ไม่เป็นศีล. ศีลและเป็นวัตรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยความสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วงในสิกขาบท ทั้งหลายนั้น นี่เป็นศีล. ความสมาทาน ชื่อว่าเป็นวัตร. เพราะอรรถว่า สำรวม จึงชื่อว่า ศีล. เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร. นี้เรียกว่าศีลและวัตร. เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน? ธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ ๑ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังคธุดงค์ ๑ สปทานจาริกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑ ยถาสันตติกังคธุดงค์ ๑ นี้เรียกว่าเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล. แม้การ สมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล กล่าวคือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้ง พระทัยว่าจงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ผลใดอันบุรุษพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้วหยุดความเพียรเสียจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า เมื่อลูกศรคือตัณหาเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง [ไม่นอน] ดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. พระมหาสัตว์ทรง ประคองตั้งพระทัยว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้จนตลอดเวลาที่จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลงจากที่จงกรม จักไม่ออกจากวิหาร จักไม่ออกจากเรือนมี หลังคาแถบเดียว จักไม่ออกจากปราสาท จักไม่ออกจากเรือนโล้น จักไม่ออกจากเพิง จักไม่ ออกจากถ้ำ จักไม่ออกจากกุฏิ จักไม่ออกจากเรือนยอด จักไม่ออกจากป้อม จักไม่ออกจาก โรงกรม จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น จักไม่ออกจากศาลาที่บำรุง จักไม่ออกจากมณฑป จักไม่ออกจากโคนต้นไม้ เพียงนั้น ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็น วัตร ไม่เป็นศีล. ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเช้านี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. ภิกษุปวะคองตั้งจิตว่า ในเวลาเที่ยงนี้แหละ ในเวลาเย็นนี้แหละ ในกาลก่อนภัตนี้แหละ ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยามหลังนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้นนี้แหละ ในตอนวัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จำทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรม ดังนี้ แม้การสมาทาน ความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล. นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตร. ภิกษุ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เธอพึงเป็นผู้มี ศีลและวัตรอย่างไร?

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๙๐๙-๑๐๙๔๘ หน้าที่ ๔๕๘-๔๕๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10909&Z=10948&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=918&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=918&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=918&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=918&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=918              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]