ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๒. โคทัตตเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระโคทัตตเถระ
[๓๘๒] โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อมอาจนำแอกเกวียน ไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็ม ด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดังอริยธรรม ของสัตว์ทั้งหลาย นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของ ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาลไม่ พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑ ชน เหล่าใดก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ในสุขเวทนา และ ในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสา เขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ในลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย มีความสุขและได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรมกับ การได้ลาภโดยไม่ชอบธรรมทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบธรรม ประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร คนไม่มี ความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐ กว่า คนไม่มีความรู้มียศจะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาลกับ การติเตียนจากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า การ สรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอันเกิดจากกามคุณกับ ความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบ ธรรมกับความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า ความ เป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชนเหล่าใดละกามและความ โกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ใน โลก ชนเหล่านั้นไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะมิได้ ย่อม ปรินิพพาน.
-----------------------------------------------------
ในจุททสกนิบาตนี้ พระเถระ ๒ รูปผู้มีฤทธิ์มาก คือ พระเรวตเถร ๑ พระโคทัตตเถระ ๑ ได้ภาษิตคาถารูปละ ๑๔ คาถา รวมเป็น ๒๘ คาถา ฉะนี้แล.
จบ จุททสกนิบาต.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๒๔๒-๗๒๗๗. หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7242&Z=7277&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=382              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=382              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=26&A=7395              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=26&A=7395              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]