พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


460 พรหมวิหารของปริพพาชกกับของพุทธ

ปัญหา พวกปริพพาชกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละนิวรณ์ทั้ง ๕ แล้วสอนให้เจริญเมตตา แผ่เมตตาไปตลอดทิศทั้ง ๔ และเบื้องล่างเบื้องบน..... สอนให้เจริญและแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยวิธีเดียวกัน ส่วนพวกปริพพาชกก็สอนแบบเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีอะไรเป็นข้อแตกต่างกันเล่า ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ...
กรุณาเจโตวิมุติ... มุทิตาเจโตวิมุติ... อุเบกขาเจโตวิมุติ... ที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไรมีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด? พวกปริพาชกถูกเธอถามอย่างนี้แล้วจักแก้ไม่ได้เลย....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลเจริญแล้วอย่างไร....มีอะไรเป็นดีที่สุด ? ภิกษุในธรรมวินี้ย่อมเจริญองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ.... ธัมมวิจยะ.... วิริยปีติปัสสัทธิ... สมาธิอุเบกขา อันประกอบด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสลัด ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราพึงเห็นว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล... ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล... ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล... ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความคิดเห็นเช่นนั้น... ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ววางใจเป็นกลาง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมมีใจเป็นกลาง มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่งเธอย่อมเข้าถึงศุภวิโมกข์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุติว่า มีศุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยอดยิ่งในธรรมวินัย ปัญญาของเธอยังเป็นโลกีย์
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันประกอบด้วยกรุณา ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราพึงเห็นว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล... พึงเห็นว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ก็ย่อมมีความคิดเห็นเช่นนั้น... เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นออกเสียแล้ววางใจเป็นกลาง หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดังไป เพราะไม่ทำนานัตตสัญญาไว้ในใจ เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่...เรากล่าวว่า กรุณาเจโตวิมุติ มีอากาสานัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง...
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยมุทิตา อาศัยวิเวก วางใจเป็นกลาง มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะเสียอย่างสิ้นเชิง เธอคำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณณัญจายตนะอยู่....เรากล่าวว่า มุติตาเจโตวิมุติ มีวิญญาณนัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง...
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์..... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอุเบกขา ...ย่อมวางใจเป็นกลาง มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.... เพราะล่วงวิญญาณณัญจายตนะเสียอย่างสิ้นเชิง เธอคำนึงอยู่ว่าอะไรนิดหนึ่งก็ไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนะอยู่....เรากล่าวว่า อุเบกขาเจโตวิมุติ มีกิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง...”

เมตตาสูตร มหา. สํ. (๕๗๖-๖๐๐)
ตบ. ๑๙ : ๑๕๙-๑๖๖ ตท. ๑๙ : ๑๕๘-๑๖๔
ตอ. K.S. ๕ : ๙๘-๑๐๒

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :