พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


419 มีผู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักมายากล

ปัญหา นายบ้านนามว่าปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า มีคนบางพวกกล่าวหาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักมายากลดังนี้ เป็นความจริงหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดเหล่า...ว่าพระสมณโคดมทรงรู้จักมายากล ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวแล้วด้วยคำที่เรากล่าว ย่อมไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง...”
คามณี “ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นความจริงซิ สหายเอ๋ย แม้เราจะไม่เชื่อคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้มายากล พระสมณโคดมทรงเป็นนักมายากลจริง ๆ”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่าเราย่อมรู้จักมายากล ผู้นั้นย่อมมุ่งหมายกล่าวว่าเราเป็นนักมายากล ดังนี้หรือ ?”
คามณี “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นแล พระผู้มีพระภาค....”
พระพุทธเจ้า “ ถ้าอย่างนั้นเราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไรพึงตอบอย่างนั้น... ท่านย่อมรู้จักลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะหรือ ?”
คามณี “ข้าพระองค์ ย่อมรู้จักพระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “ลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะเหล่านั้น มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร?”
คามณี “เพื่อป้องกันพวกโจรแก่ชาวโกลิยะ และเพื่อส่งข้าวสาส์นของชาวโกลิยะ.... พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “นายคามณี ท่านรู้จักลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวในนิคมของชาวโกลิ ในฐานะเป็นผู้มีศีลหรือเป็นผู้ทุศีล?”
คามณี “....เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะรู้จักพวกลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกลิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้นาบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทราม ดังนี้ผู้นั้นเมื่อพูดอยู่เช่นนั้นชื่อว่าพูดชอบหรือหนอ ?”
คามณี “หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกลูกจ้างผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโลกิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง....”
พระพุทธเจ้า “ดูก่อนนายคามณี ท่านแลยังได้เพื่อที่จะกล่าววว่า นายคามณีปาฏลิยะย่อมรู้จักลูกจ้าง.... ผู้มีศีลชั่ว ผู้มีธรรมอันเป็นบาป แต่นายคามณีปาฏลิยะหาได้เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเป็นบาปไม่ ไฉนตถาคตจึงไม่ได้เพื่อที่จะกล่าวว่า พระตถาคตทรงรู้จักมายากล แต่พระตถาคตหาได้เป็นนักมายากลไม่ ดังนี้เล่า?”

ปาฏลิยสูตร สฬา. สํ. (๖๔๙-๖๕๐)
ตบ. ๑๘ : ๔๑๘-๔๒๐ ตท. ๑๘ : ๓๗๐-๓๗๒
ตอ. K.S. ๔ : ๒๔๕-๒๔๖

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;