พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


350 ผู้ไม่สำคัญหมายย่อมไม่ถือมั่น

ปัญหา ข้อปฏิบัติอันเหมาะสมแก่การกำจัดความถือตนเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวงด้วยอำนาจ ตัณหา มานะทิฏฐิ คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมไม่สำคัญหมาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ย่อมไม่สำคัญหมายในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายจากตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายว่าตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... เป็นของเราย่อมไม่สำคัญหมาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายแต่รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายว่า รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใน (วิญญาณทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายจักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใจ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา อันมี (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นปัจจัย ย่อมไม่สำคัญหมายใน (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า เวทนาทั้ง ๓ นั้นเป็นของเรา
“ย่อมไม่สำคัญหมายสิ่งทั้งปวง ในสิ่งทั้งปวง แต่สิ่งทั้งปวง ย่อมไม่สำคัญ หมายว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญหมายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไปถือมั่นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับทุกข์เย็นสนิทเฉพาะตน....”


สารูปสูตร สฬา. สํ. (๓๓)
ตบ. ๑๘ : ๑๗-๒๘ ตท. ๑๘ : ๒๐-๒๑
ตอ. K.S. ๔ : ๑๑-๑๒

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :