พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


340 คำสอนของปกุทธะ กัจจายนะ

ปัญหา ท่านศาสดาปกุทธะ กัจจายนะ มีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ปกุทธะ กัจจายนะ มีความเห็นว่า มีความเห็นว่า สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีใครทำ ไม่มีใครเป็นเหตุให้ทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครเป็นเหตุให้เนรมิต เป็นภพไม่มีผล ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอด ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันและกัน
“สภาวะ ๗ กองนั้น คืออะไร? คือ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ.... แม้ผู้ใดจะเอาศาสตราอันคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องระหว่างสภาพวะ ๗ กองเท่านั้น
“อนึ่ง มีกำเนิดที่เป็นใหญ่ ๑,๔๐๖,๖๐๐ มีกรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓กรรม ๑ และกรรมกึ่ง มีทางดำเนิน ๖๒ มีอันตรกัลป์ ๖๒ มีอภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ มีอาชีวะ ๔,๙๐๐ ปริพพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาต ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ ๗ นิคัณฐครรภ์ ๗ สภาวทิพย์ ๗ มนุษย์ ๗ ปิศาจ ๗ สวะ ๗ ปมใหญ่ ๗ ปมเล็ก ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวเล็ก ๗ ฝันใหญ่ ๗ ฝันเล็ก ๗๐๐ มีมหากัลป์ ๘,๔๐๐,๐๐๐
“ทั้งคนพาลและบัณฑิตท่องเที่ยวเร่ร่อนไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ ในการท่องเที่ยวนั้น จะหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยังไม่สุกงอมให้สุกงอมด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์ หรือว่าเราจักผลักดันกรรมที่สุกงอมแล้วกระทำให้หมดสิ้นไปเสียดังนี้ไม่ได้เลย ในการท่องเที่ยวไปนั้น ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ที่อาจทำให้สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ไม่มีความเสมอและความเจริญ ไม่มีการเพิ่มขึ้นและลดลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไปเสวยสุขและทุกข์เองเหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่ออกไปเอง...
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑ (๔๓๑)
ตบ. ๑๗ : ๒๕๙-๒๖๐ ตท. ๑๗ : ๒๔๑-๒๔๒
ตอ. K.S. ๓ : ๑๗๐-๑๗๑

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :