พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


323 อุปมาของขันธ์ ๕

ปัญหา เราจะอธิบายขันธ์ ๕ โดยเปรียบเทียบกับอะไร จึงจะเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงนำลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุ พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นพิจารณาอยู่ กลุ่มฟองน้ำนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย แม้ฉันใดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงในฤดูใบไม้ร่วง (สารทสมัย) ฟองน้ำในน้ำย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงพิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นพิจารณาอยู่ กลุ่มฟองน้ำนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย แม้ฉันใดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันนั้น
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดดย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย พยับแดดนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันนั้น สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่โดยแยบคายรูปนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฉันนั้นเหมือนกันแล
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม่แก่น ถือเอาจอบอันคมพึงเข้าไปสู่ป่า พึงเห็นต้นกล้วยขนาดใหญ่ ลำต้นตรง ยังอ่อน ยังไม่เกิดแกน พึงตัดโคน ตัดปลาย ปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้แต่กระพี้ในต้นกล้วยนั้น เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย ต้นกล้วยนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันใด สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกล พึงเล่นกลที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
เมื่อบุรุษพิจารณาโดยแยบคาย กลนั้นพึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า แม้ฉันใด วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเป็นของว่างฉันนั้นเหมือนกันแล”

เผณปิณฑสูตร ขันธ. สํ. (๒๔๒-๒๔๖)
ตบ. ๑๗ : ๑๗๑-๑๗๓๐ ตท. ๑๗ : ๑๔๙-๑๕๑
ตอ. K.S. ๓ : ๑๑๘-๑๒๐

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :