พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


315 รู้อย่างไร อาสวะจึงจะสิ้น

ปัญหา ทางพุทธศาสนาถือว่า ความรู้เห็นแจ้งจะทำให้อาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปได้ รู้อย่างไร เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไป?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ผู้มิได้รับรู้แล้ว....ย่อมพิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นและเป็นสังขาร... สังขาร... สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหานั้นเกิดจากเวทนา เวทนานั้นเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา...
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ว่าพิจารณาเห็นตนในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่มีความเห็นอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา... ก็มีความเห็นว่าเที่ยงแท้เช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
“ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... เป็นผู้ไม่มีความเห็นเช่นนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น แต่ว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึงมีของ ของเราก็ไม่พึงมี เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... ก็ความเห็นว่าขาดสูญเช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
“ปุถุชน... เป็นผู้ไม่มีความเห็นว่า ถ้าเราไม่พึงมีของของเราก็ไม่พึงเรา
เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่แน่ใจสัทธรรม.... ก็ความเห็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง...เช่นนั้นก็เป็นสังขาร....
“ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหาเกิดจากเวทนา เวทนาเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้นแม้ ตัณหา เวทนา ผัสสะ อวิชชา นั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ”

ปาลิเลยยสูตร ขันธ. สํ. (๑๗๔-๑๘๑)
ตบ. ๑๗ : ๑๑๖-๑๒๑ ตท. ๑๗ : ๑๐๓-๑๐๗
ตอ. K.S. ๓ : ๘๒-๘๔

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :