พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


079 ภาษาท้องถิ่น

ปัญหา ภาษาท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไป ทั้งคำพูดและสำเนียง ก่อให้เกิดความลำบากในการประกาศพระศาสนา พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้พระสาวกปฏิบัติต่อภาษาท้องถิ่นอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสียนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรเล่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ?
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั้นและในโลกนี้ ในบางชนบทเขาหมายรู้ว่าปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่าปิฏฐะในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สระวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโลสะ ในบางชนบทเขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ ภิกษุพูดปรักปรำ โดยประการที่ชนทั้งหลาย หมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ โดยกำลังและความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า อย่างนี้แลชื่อว่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ.....”

อรณวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๖๒)
ตบ. ๑๔ : ๔๒๙-๔๓๐ ตท. ๑๔ : ๓๖๖
ตอ. MLS. III : ๒๘๒


<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;