ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. จูฬปันถกสูตร
[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระจูฬปันถกะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระจูฬปันถกะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้จำเพาะหน้า ในที่ไม่ไกล ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า ภิกษุมีกายตั้งมั่นแล้ว มีใจตั้งมั่นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ควบคุมสตินี้ไว้อยู่ เธอพึงได้คุณวิเศษทั้ง เบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลายแล้ว พึงถึงสถานที่เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโสณเถรวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราชสูตร ๒. อัปปายุกาสูตร ๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร ๔. กุมารกสูตร ๕. อุโปสถสูตร ๖. โสณสูตร ๗. กังขาเรวตสูตร ๘. อานันทสูตร ๙. สัททายมานสูตร ๑๐. จูฬปันถกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๒๙๕-๓๓๑๕ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๔. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=25&A=3295&Z=3315&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=25&siri=85              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=126              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย