ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๑. ทารุกขันธสูตร
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรลง จากภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป เห็นกองไม้กองใหญ่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเห็นกองไม้ กองใหญ่โน้นหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นดินได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ที่กองไม้โน้นมีปฐวีธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจ ถึงให้เป็นดินได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕๒.

เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นน้ำได้ ฯลฯ ให้เป็นไฟได้ ฯลฯ ให้ เป็นลมได้ ฯลฯ ให้เป็นของงามได้ ฯลฯ ให้เป็นของไม่งามได้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะที่กองไม้โน้นมีอสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของไม่งามได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๘๐๒๓-๘๐๓๘ หน้าที่ ๓๕๑-๓๕๒. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=22&A=8023&Z=8038&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=22&siri=292              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=312              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย