ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๒๓.

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร (๑๑๔)
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระ ผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพแก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้า ข้า ฯ [๑๙๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ความประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน เรากล่าวความ ประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกัน เรากล่าวความประพฤติ ทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางใจด้วยกัน เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่าง เป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกัน เรากล่าวความได้สัญญาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควร เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ สัญญาด้วยกัน เรากล่าวความได้ทิฐิโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิด้วยกัน เรากล่าวความ ได้อัตภาพโดยส่วน ๒ คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง นั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน ฯ [๒๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๔.

พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้ โดยพิสดารอย่างนี้- ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประ พฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความ ประพฤติทางกายเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางกายเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่าง ไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือ เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือ เปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต อนึ่ง เป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ คือ ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า อันเจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยความเป็นขโมย อนึ่ง เป็นผู้มัก ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดา รักษาบ้าง หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาว รักษาบ้าง หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่ บ้าง ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึง เสื่อมไป ฯ [๒๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่าง ไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๕.

บางคนในโลกนี้ เพราะละปาณาติบาต จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน สรรพสัตว์และภูตอยู่ เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ไม่ ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า อันเจ้าของเขามิได้ ให้ ด้วยความเป็นขโมย เพราะละกาเมสุมิจฉาจาร จึงเป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุ- *มิจฉาจาร ไม่เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดารักษาบ้าง หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง ที่สุด แม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประ- *พฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประ- *พฤติทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง นั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย เนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว ฯ [๒๐๓] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทาง วาจาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไร ตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความ ประพฤติทางวาจาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความ ประพฤติทางวาจาเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่าง ไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ คือไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปใน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๖.

ท่ามกลางญาติก็ดี ไปในท่ามกลางขุนนางก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขา นำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด ท่านรู้อย่างใด ก็จงพูด อย่างนั้น เขาไม่รู้ บอกว่ารู้บ้าง รู้อยู่ บอกว่าไม่รู้บ้าง ไม่เห็น บอกว่าเห็นบ้าง เห็นอยู่ บอกว่าไม่เห็นบ้าง พูดเท็จทั้งรู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่น บ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เป็นผู้พูดส่อ เสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้วบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่าย โน้นแล้ว บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาพร้อมเพรียงกัน ก็ยุ ให้แตกกันเสีย หรือเมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็ช่วยส่งเสริม ชอบเป็นพรรคเป็นพวก ยินดีความเป็นพรรคเป็นพวก ชื่นชมความเป็นพรรคเป็นพวก เป็นผู้กล่าวคำทำให้ เป็นพรรคเป็นพวก อนึ่ง เป็นผู้กล่าวคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่มีโทษ หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดใจผู้อื่น ใกล้เคียงความโกรธ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสมาธิ อนึ่ง เป็นผู้ เจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวไม่ถูกกาละ กล่าวไม่จริง กล่าวไม่เป็นประโยชน์ กล่าวไม่ เป็นธรรม กล่าวไม่เป็นวินัย เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มี ขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึง เสื่อมไป ฯ [๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่าง ไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล บางคนในโลกนี้ เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือ ไปในสภา ก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในท่ามกลางญาติก็ดี ไปในท่ามกลางขุนนางก็ดี ไปใน ท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด ท่านรู้อย่างใด ก็จงพูดอย่างนั้น เขาไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง รู้อยู่ ก็บอกว่ารู้บ้าง ไม่เห็น ก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เห็นอยู่ ก็บอกว่าเห็นบ้าง ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง เพราะละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๗.

ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือเมื่อเขาดี กันอยู่ ก็ช่วยส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคี เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รัก ใคร่จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ เพราะละการ เจรจาเพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตาม เป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่ อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึง เจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางวาจาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางวาจาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรง อาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ [๒๐๖] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความประพฤติทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางใจ ด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความประพฤติทางใจเช่นนี้ควร เสพ ฯ [๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๘.

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา คือ มักเป็นผู้เพ่งเล็งอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นว่า โอหนอ ขอสิ่งของของผู้อื่นนั้น พึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิต พยาบาท คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า หรือจงถูก ทำลาย จงขาดสูญ จงฉิบหาย อย่าได้เป็นเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพ ความประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางใจมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา คือ ไม่เป็นผู้เพ่งเล็งอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นว่า โอหนอ ขอสิ่งของของผู้อื่นนั้น พึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิต ไม่พยาบาท คือ มีความดำริในใจไม่ชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงอย่าถูกเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข บริหารตนไปเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความ ประพฤติทางใจมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ ประพฤติทางใจโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางใจด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ [๒๐๙] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร เสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วย กัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไร ตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความเกิดขึ้นแห่งจิตเช่นนี้ ควรเสพ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๙.

[๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีใจสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีใจสหรคตด้วยความเบียด เบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างนี้ อกุศล ธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีใจไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มี พยาบาท มีใจไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีใจไม่ สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่ง จิตมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความเกิด ขึ้นแห่งจิตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง นั้น แต่ละอย่างเป็นความเกิดขึ้นแห่งจิตด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย เนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ [๒๑๒] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความได้สัญญาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ อย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้สัญญาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้สัญญา เช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อม ไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้สัญญาเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๐.

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ มีพยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีสัญญา สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้สัญญา มีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้สัญญามีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาไม่สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความ ได้สัญญามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ สัญญาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้สัญญาด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ [๒๑๕] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความได้ทิฐิโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ อย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ ทิฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้ทิฐิเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้ทิฐิเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศล- *ธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้ทิฐิเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างไร อกุศล- *ธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่ มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๑.

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้ แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพ ความได้ทิฐิมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างไร อกุศล ธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ทิฐิ โดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ [๒๑๘] ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวความได้อัตภาพโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพ อย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้ อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้อัตภาพ เช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้อัตภาพเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๒.

ที่เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ อกุศล- *ธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุคคลที่ เกิดมา ครองการได้อัตภาพอย่างไม่บกพร่อง เป็นผู้สมประกอบเป็นเหตุ อกุศล- *ธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้ อัตภาพโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่าง นั้น แต่ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความ ดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้ ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้แล ข้าพระองค์ทราบเนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้ ฯ [๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ดีแล้วๆ ธรรมบรรยาย ที่เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ เธอทราบเนื้อความได้โดย พิสดารอย่างนี้ ถูกแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกาย โดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกร สารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป ความประพฤติทางกายเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความ ประพฤติทางกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความ ประพฤติทางกายเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๒๒] ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนใน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๓.

โลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต อนึ่ง เป็นผู้มักถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ คือ ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า อันเจ้าของเขาไม่ให้ด้วยความเป็นขโมย อนึ่ง เป็นผู้มักประพฤติผิด ในกาม คือ เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดารักษาบ้าง หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง ที่สุด แม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติ ทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๒๓] ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างไร อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละปาณาติบาต จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เพราะละอทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ไม่ถือเอาอุปกรณ์เครื่อง ปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า อันเจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยความเป็น ขโมย เพราะละกาเมสุมิจฉาจาร จึงเป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ไม่เป็นผู้ ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง หญิงที่บิดารักษาบ้าง หญิงที่ทั้งมารดาและ บิดารักษาบ้าง หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง หญิงที่ญาติรักษาบ้าง หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้อง พวงดอกไม้หมั้นไว้ ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติทางกาย โดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างเป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าว แล้ว ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๔.

[๒๒๔] ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความประพฤติ ทางวาจา ... เรากล่าวความประพฤติทางใจ ... เรากล่าวความเกิดขึ้นแห่งจิต ... เรากล่าวความได้สัญญา ... เรากล่าวความได้ทิฐิ ... เรากล่าวความได้อัตภาพโดย ส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ความได้อัตภาพเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ความได้อัตภาพเช่นนี้ ควรเสพ ฯ [๒๒๕] ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรม จึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ดูกรสารีบุตร เพราะบุคคลที่เกิดมา ครองการ ได้อัตภาพอย่างบกพร่อง เป็นผู้ไม่สมประกอบเป็นเหตุ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ [๒๒๖] ดูกรสารีบุตร เมื่อเสพความได้อัตภาพมีรูปอย่างไร อกุศลธรรม จึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ดูกรสารีบุตร เพราะบุคคลที่เกิดมา ครองการ ได้อัตภาพอย่างไม่บกพร่อง เป็นผู้สมประกอบเป็นเหตุ อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความได้อัตภาพโดย ส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ ละอย่างเป็นความได้อัตภาพด้วยกัน นั่น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ ดูกรสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดย พิสดารนี้แล เธอพึงเห็นเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ฯ [๒๒๗] ดูกรสารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะโดย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๕.

ส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วย ชิวหาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรากล่าว โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรากล่าวธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ ควรเสพอย่าง ๑ ฯ [๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร ได้ทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้ โดยพิสดารอย่างนี้- ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ ด้วยจักษุโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ ด้วยจักษุเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นใด อกุศลธรรม ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเช่นนี้ ควรเสพ ข้อที่ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย เนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ ด้วยโสตโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพเสียงที่รู้ ได้ด้วยโสตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสียงที่รู้ ได้ด้วยโสต เช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตเช่นใด อกุศล ธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสียงที่รู้ได้ด้วยโสตเช่นนี้ ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตโดยส่วน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๖.

๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัย เนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ ด้วยฆานะโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพกลิ่น ที่รู้ได้ด้วยฆานะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กลิ่นที่รู้ ได้ด้วยฆานะเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะเช่นใด อกุศล- *ธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะเช่นนี้ ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะโดย ส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ ด้วยชิวหาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพรส ที่รู้ได้ด้วยชิวหาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รสที่รู้ได้ด้วยชิวหาเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา เช่นนี้ ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วย ชิวหาโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มี- *พระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ ตรัสแล้ว ฯ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่พึง รู้แจ้งด้วยกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป โผฏฐัพพะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๗.

ที่รู้ด้วยกายเช่นนี้ ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะ ที่รู้แจ้งด้วยกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น