ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๑๖๖.

อุโบสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์
[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม. คนทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อ ฟังธรรม. พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญ- *เดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัด หลีก เร้นอยู่ ได้มีพระราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้าไป หาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวก ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท้าวเธอประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้นต่อพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่ สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คน ทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอ พระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง หม่อมฉัน ขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้างเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงแสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว. ครั้นท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๗.

สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค ทรงทำประทักษิณเสด็จกลับไป.
พระพุทธานุญาตวันประชุม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.
ประชุมนั่งนิ่ง
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์. ภิกษุเหล่านั้นจึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้วนั่งนิ่งเสีย. คนทั้งหลายเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม. พวกเขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสียเหมือนสุกรอ้วนเล่า ธรรมเนียม ภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ? ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระพุทธานุญาตให้กล่าวธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.
พระพุทธานุญาตปาติโมกขุเทศ
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่ง พระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้ เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ. ครั้นเวลา สายัณห์ พระองค์เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๘.

ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติ แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรม ของพวกเธอ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้:- ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์. อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์? ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์. ข้าพเจ้าจัก สวดปาติโมกข์. พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์. ท่านผู้ใดมีอาบัติ ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่. ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์. การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ในบริษัทเห็น ปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียวฉะนั้น. ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวด ประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ระลึกได้ ไม่ยอมเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ ภิกษุรูปนั้น. ท่านทั้งหลาย ก็สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่. เพราะ เปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.
นิทานุเทศวิภังค์
[๑๕๐] คำว่า ปาติโมกข์ นี้ เป็นเบื้องต้น เป็นประธาน เป็นประมุขแห่งกุศลธรรม ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์ คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน เป็นคำแสดงความเคารพ. คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นชื่อของถ้อยคำที่ประกอบด้วยความเคารพและประกอบด้วย ความยำเกรง. คำว่า จักสวด คือจักบอก จักแสดง จักทำให้ปรากฏ จักริเริ่ม จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักประกาศ. บทว่า นั้น ตรัสเรียกปาติโมกข์. คำว่า ที่มีอยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นมีจำนวนเท่าไร เป็นเถระก็ตาม นวกะ ก็ตาม มัชฌิมะก็ตาม เหล่านี้เรียกว่า ที่มีอยู่ทั้งหมด.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๙.

คำว่า จงฟังให้สำเร็จประโยชน์ ความว่า จงตั้งใจ มนสิการ ประมวลเรื่องทั้งหมด ด้วยใจ. คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่ซัดส่าย ตั้งใจฟัง. คำว่า ท่านผู้ใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุเถระก็ตาม นวกะก็ตาม มัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติ ๕ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง มีอาบัติ ๗ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง. คำว่า ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุนั้นพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงทำให้ตื้น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง. อาบัติชื่อว่า ไม่มี คือ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ หรือว่าต้อง แต่ออกแล้ว. คำว่า พึงนิ่งอยู่ คือพึงนิ่ง ไม่ต้องพูด. คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ คือจักรู้ จักทรงจำไว้. คำว่า ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้ เฉพาะรูปที่ถูกถามผู้เดียว ความว่า พึงรู้ใน บริษัทนั้นว่า ถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูปหนึ่งถูกภิกษุอีกรูปหนึ่งถาม พึงแก้ฉะนั้น. บริษัทที่ชื่อว่า เห็นปานนี้ ตรัสเรียกภิกษุบริษัท. คำว่า การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ความว่า สวดประกาศแม้ครั้งที่หนึ่ง สวด ประกาศแม้ครั้งที่สอง สวดประกาศแม้ครั้งที่สาม. บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้. อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้วยังมิได้ออก. คำว่า ไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย ไม่ยอมทำให้ตื้น ไม่ ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง. คำว่า สัมปชานมุสาวาท ย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ สัมปชานมุสาวาท เป็นอะไร? เป็นอาบัติทุกกฏ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๐.

คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมอันตราย ความว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ อะไร? เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุปฐมฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุทุติยฌาน เป็น ธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุตติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรม ทำอันตรายแก่การบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม. บทว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุดังนั้น. บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้. บทว่า หวังความบริสุทธิ์ คือประสงค์เพื่อออกจากอาบัติ ประสงค์เพื่อความหมดจด. อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้วยังมิได้ออก. คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน บุคคลผู้หนึ่ง. คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ ความว่า ความผาสุกมี เพื่ออะไร? ความผาสุกมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุทุติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อ บรรลุตติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุจตุตถฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม.
สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวด ปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ในวัน อุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๑.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ วัน ๑๕ ค่ำ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์
[๑๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะ บริษัทของตนๆ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะ บริษัทของตนๆ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้พร้อมเพรียงกัน. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติอุโบสถกรรมแก่ ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วมีความดำริต่อไปว่า ความพร้อมเพรียงมีเพียงเท่าไร หนอแล มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือทั่วทั้งแผ่นดิน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียง เพียง ชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น.
เรื่องพระมหากัปปินเถระดำริจะไม่ทำอุโบสถ
[๑๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะพักอยู่ ณ มัททกุจฉิมฤคทายวัน เขต พระนครราชคฤห์. คราวหนึ่ง ท่านไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้วด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่ง จิตของท่านพระมหากัปปินะด้วยพระทัยของพระองค์ แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปในคิชฌกูฏบรรพต มาปรากฏอยู่ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิมฤคทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น แล้วพระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่เขาจัด ถวาย. ฝ่ายท่านพระมหากัปปินะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคำนี้กะท่านพระมหากัปปินะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกร กัปปินะ เธอไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราควรไปทำ อุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้ว ด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง ดังนี้มิใช่หรือ?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๒.

ท่านพระมหากัปปินะทูลรับว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่ นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูกรพราหมณ์ เธอจงไปทำอุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้. ท่านพระมหากัปปินะรับสนองพระพุทธพจน์ว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระมหากัปปินะเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปในที่ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิ- *มฤคทายวัน มาปรากฏ ณ คิชฌกูฏบรรพต โดยรวดเร็ว เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขน ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๐๕๓-๔๒๐๗ หน้าที่ ๑๖๖-๑๗๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=4053&Z=4207&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=53              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=147              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [147-153] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=147&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2360              The Pali Tipitaka in Roman :- [147-153] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=147&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2360              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php# https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :