ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
กังขากถา
[๕๒๒] สกวาที ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของ พระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๓] ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของ พระอรหันต์ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉา- นิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระ อรหันต์มีอยู่ [๕๒๔] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา- สัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านไม่มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา สัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาไม่มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๖] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ความสงสัยในพระ สงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยในส่วนอนาคต ความสงสัยใน ส่วนอดีต ความสงสัยทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ความสงสัยใน ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของ พระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๗] ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ความสงสัยในพระ สงฆ์ ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็น ปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความ สงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง เกิดขึ้นของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระ อรหันต์มีอยู่ [๕๒๘] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัย ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้ เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ความ สงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๙] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ความ สงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านไม่มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัย ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้ เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ราคะอันพระอรหันต์ ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอด ด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น ดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ [๕๓๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ ละขาดแล้ว ฯลฯ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ ขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้ เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระ อรหันต์มีอยู่ [๕๓๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน มีอยู่ แต่ความสงสัย ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๓] ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาดราคะแล้ว แต่ความสงสัยของ ท่านยังมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว แต่ความสงสัยของท่าน ยังมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาดโทสะแล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะ แล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิด แล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาด ซึ่งอโนตตัปปะหรือ ฯลฯ [๕๓๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ความสงสัยของท่าน ยังอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ความสงสัยของท่าน ยังมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๗] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะแล้ว และความสงสัยของท่าน ก็ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาดราคะแล้ว และความสงสัยของ ท่านก็ไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๘] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะแล้ว ฯลฯ ละขาดโมหะ แล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยัง โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ หรือ ฯลฯ [๕๓๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และความสงสัยของ ท่านก็ไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๔๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น อาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคล ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะ จึงมีได้ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ [๕๔๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น อาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร ความสิ้นอาสวะ จึงมีได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่ง ทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้ ๒- เป็นสูตรที่มีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ [๕๔๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว @๑. ดูหน้า ๒๔๒ ๒. ดูหน้า ๒๔๒ ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วย ปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำรอก ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อม เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อเมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กำหนดรู้ สำรอก ละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึงเป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ [๕๔๓] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรคของ ท่าน ฯลฯ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำความผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ ๒- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ [๕๔๔] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตา เห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้า เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งทัศนะ อริยสาวกก็ละ สัญโญชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต- ปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ @๑. ดูหน้า ๒๔๓ ๒. ดูหน้า ๒๔๓ [๕๔๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่ พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ พราหมณ์นั้น ย่อมวับหายไป เพราะมารู้ธรรมกับทั้งเหตุ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่ง อยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมวับหายไป เพราะได้รู้ถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่ง อยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจ ดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ยังอากาศให้สว่างฉะนั้น ๑- ความสงสัยในโลกนี้หรือโลกอื่น ในประวัติของตน หรือใน ประวัติของผู้อื่น ไม่ว่าอย่างใด ผู้มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์ เพ่งอยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้หมด ๒- บุคคลเหล่าใด ข้ามความสงสัยทั้งหลายเสียได้ ในเมื่อคน ทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่ เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่ข้องขัด ทานที่ให้ในบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก การประกาศธรรมในพระศาสนานี้ เป็นเช่นนี้ บรรดาพระสาวก เหล่านั้น องค์ไรหรือจะยังสงสัย ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการ พระพุทธเจ้าผู้จอมคน ทรงข้ามพ้นห้วงสังสารวัฏ และทรงตัดความ สงสัยเสียได้ ดังนี้ ๓- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ @๑. ขุ. อุ. ข้อ ๓๘,๓๙,๔๐ หน้า ๗๔-๗๖ ๒. ขุ. อุ. ข้อ ๑๒๓ หน้า ๑๖๖ @๓. ที. ม. ข้อ ๓๒๕ หน้า ๓๐๙ [๕๔๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์ ยังมีอยู่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตรของสตรีและบุรุษ อาจสงสัย ในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ก็ได้ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า พระอรหันต์อาจสงสัยในนามและโคตรของสตรีและบุรุษ อาจ สงสัยในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้ เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความสงสัยของพระ- อรหันต์ ยังมีอยู่ ส. เพราะพระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตรของสตรีและบุรุษ อาจ สงสัยในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความสงสัย ของพระอรหันต์จึงยังมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระอรหันต์ อาจสงสัยในโสดาปัตติผล หรือในสกทาคามิผล หรือใน อนาคามิผล หรือในอรหัตผลก็ได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กังขากถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๕๙๒๐-๖๑๓๗ หน้าที่ ๒๔๔-๒๕๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=5920&Z=6137&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=32              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=522              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [522-546] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=522&items=25              The Pali Tipitaka in Roman :- [522-546] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=522&items=25              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.3/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :