ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
             [๕๓๙] รูปเป็นอนุปาทา นั้น เป็นไฉน?
             โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ.
             [๕๔๐] รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัส
ไม่สบาย หนัก เบา, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง
ซึ่งโผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยกายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่
กระทบได้, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
โผฏฐัพพายตนะ.
             รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัส
ไม่สบาย หนัก เบา, กายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
             รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัส
ไม่สบาย หนัก เบา, โผฏฐัพพะใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือ
กระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียก
ว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
             รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสสบาย มีสัมผัส
ไม่สบาย หนัก เบา, เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกาย เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้น
อยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกาย เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจัก
เกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกาย เกิดขึ้นแล้ว
หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัยกาย เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิด
ขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง
โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
             [๕๔๑] รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่อง
เกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ.
             รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทา.
             [๕๔๒] รูปเป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า
รูปเป็นอุปาทินนะ.
             รูปเป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน?
             สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา
รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพา-
*ยตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.
             [๕๔๓] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด
มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ
รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.
             รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน?
             สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา
รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัทธายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้
แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.
             [๕๔๔] รูปเป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสนิทัสสนะ.
             รูปเป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะ.
             [๕๔๕] รูปเป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น สัปปฏิฆะ.
             รูปเป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน?
             อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ.
             [๕๔๖] รูปเป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์.
             รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์.
             [๕๔๗] รูปเป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
             โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูต.
             รูปไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูต.
             [๕๔๘] รูปเป็นวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             กายวิญญัติ วจีวิญญัติ รูปนี้เรียกว่า รูปเป็นวิญญัติ.
             รูปไม่เป็นวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นวิญญัติ.
             [๕๔๙] รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
             กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็น
สมุฏฐาน ได้แก่รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้
เรียกว่า รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน.
             รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปชรตา รูปอนิจจตา
หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ที่ไม่เกิดแต่จิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูป
มุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิต-
*สมุฏฐาน.
             [๕๕๐] รูปเป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
             กายวิญญัติ วจีวิญญัติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตสหภู.
             รูปไม่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตสหภู.
             [๕๕๑] รูปเป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
             กายวิญญัติ วจีวิญญัติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตานุปริวัติ.
             รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติ.
             [๕๕๒] รูปเป็นภายใน นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายใน.
             รูปเป็นภายนอก นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายนอก.
             [๕๕๓] รูปหยาบ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปหยาบ.
             รูปละเอียด นั้น เป็นไฉน?
             อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปละเอียด.
             [๕๕๔] รูปไกล นั้น เป็นไฉน?
             อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไกล.
             รูปใกล้ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปใกล้.
             [๕๕๕] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน.
             จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
             รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น ไฉน?
             โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.
             [๕๕๖] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ
ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
             รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.
             [๕๕๗] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหา
สัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
             รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.
             [๕๕๘] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ
ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.
             รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ,
             [๕๕๙] รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
             รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.
             [๕๖๐] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ
ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.
             รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
             [๕๖๑] รูปเป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส
ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
             รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.
             [๕๖๒] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ
ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
             รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.
             [๕๖๓] รูปเป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง ฯลฯ
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขายตนะ.
             รูปไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขายตนะ.
             [๕๖๔] รูปเป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ
เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายายตนะ.
             รูปไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายายตนะ.
             [๕๖๕] รูปเป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปายตนะ.
             รูปไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปายตนะ.
             [๕๖๖] รูปเป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ
เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพายตนะ.
             รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.
             [๕๖๗] รูปเป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุธาตุ.
             รูปไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขุธาตุ.
             [๕๖๘] รูปเป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ
เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายธาตุ.
             รูปไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายธาตุ.
             [๕๖๙] รูปเป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปธาตุ.
             รูปไม่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปธาตุ.
             [๕๗๐] รูปเป็นสัททธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็นรสธาตุ ฯลฯ
เป็นโผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน?
             โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพธาตุ.
             รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.
             [๕๗๑] รูปเป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุนทรีย์.
             รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์.
             [๕๗๒] รูปเป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ
เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้น เป็นไฉน?
             กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง ฯลฯ บ้านว่างบ้าง
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายินทรีย์.
             รูปไม่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายินทรีย์.
             [๕๗๓] รูปเป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง
ของหญิง ปรากฏได้ ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอิตถินทรีย์.
             รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์.
             [๕๗๔] รูปเป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             ทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย
ของชาย ปรากฏได้ ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นปุริสินทรีย์.
             รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์.
             [๕๗๕] รูปเป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่
ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิตของรูปธรรมนั้นๆ อันใด
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นชีวิตินทรีย์.
             รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์
             [๕๗๖] รูปเป็นกายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             การเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความที่เคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย
กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล
หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแล
ขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายวิญญัติ.
             รูปไม่เป็นกายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายวิญญัติ.
             [๕๗๗] รูปเป็นวจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท
แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา,
การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น
อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นวจีวิญญัติ
             รูปไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นวจีวิญญัติ.
             [๕๗๘] รูปเป็นอากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า
รูปเป็นอากาศธาตุ.
             รูปไม่เป็นอากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอากาศธาตุ.
             [๕๗๙] รูปเป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเครื่อง
เกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอาโปธาตุ.
             รูปไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอาโปธาตุ.
             [๕๘๐] รูปเป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
             ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
เรียกว่า รูปเป็นรูปลหุตา.
             รูปไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปลหุตา.
             [๕๘๑] รูปเป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
             ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
เรียกว่า รูปเป็นรูปมุทุตา.
             รูปไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปมุทุตา.
             [๕๘๒] รูปเป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
             กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งรูป อันใด
รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปกัมมัญญตา.
             รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตา.
             [๕๘๓] รูปเป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
             ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็นความเกิดแห่งรูปนั้น รูปทั้งนี้เรียกว่า
รูปเป็นรูปอุปจยะ
             รูปไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปอุปจยะ.
             [๕๘๔] รูปเป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
             ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น
รูปสันตติ.
             รูปไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปสันตติ.
             [๕๘๕] รูปเป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
             ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความ-
*เสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปชรตา.
             รูปไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปชรตา.
             [๕๘๖] รูปเป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
             ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอนิจจตา.
             รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา.
             [๕๘๗] รูปเป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
             ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของ
สัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงชีวิตด้วยโอชาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น
กพฬิงการาหาร.
             รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร.
             สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.
ทุกนิเทส จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๔๗๖๓-๕๐๔๑ หน้าที่ ๑๙๑-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=4763&Z=5041&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=51              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=539              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [539-587] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=539&items=49              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=9733              The Pali Tipitaka in Roman :- [539-587] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=539&items=49              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=9733              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.2.3/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en197

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :